แนวทางการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

สันติ สีลา
วิเชียร รู้ยืนยง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่น และเพื่อสร้างแนวทางการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่นประชากร (Population) ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ สถานศึกษาจำนวน 26 แห่ง ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 46 คน ครูผู้สอน จำนวน 729 คน รวม 775 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตาราง Taro Yamane ที่ระดับความคลาดเคลื่อนในการสุ่มที่ .05 ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ได้กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย จำนวนทั้งสิ้น 264 คนดังนี้ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 16 คน และครูผู้สอน จำนวน 248 คน รวม 264 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถาม  ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่นมีผลการวิจัยดังนี้สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ความต้องการจำเป็นเรียงตามลำดับความสำคัญได้ ดังนี้ 1) ด้านทีมและเครือข่ายการเรียนรู้  2) ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ 3) ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4) ด้านการจัดการความรู้ 5) ด้านค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วม และ 6) ด้านการสนับสนุนและภาวะผู้นำร่วมและ 2. แนวทางการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย 3 แนวทางดังนี้ 1) การเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ 2) ทีมและเครือข่ายการเรียนรู้ และ 3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เฉลิมชาติ เมฆแดง. (2558). แนวทางการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาเอกชน. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 15 (ฉบับพิเศษ), 171-179.

นริศ ภูอาราม. (2560). การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับเครือข่ายโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551. (2551, 3 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 125 ตอนที่ 41 ก. หน้า 3.

เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2558). กระบวนการเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาปฏิบัติการวิชาชีพครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: การวิจัยกรณีศึกษา. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2556). แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครู (PLC). วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 10(1), 34-46.

วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตาพลับลิเคชั่นจำกัด.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิจารณ์ พานิช. (2556). สนุกกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่21มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์. กรุงเทพฯ: เอสอาร์พริ้นติ้ง.

ศิริรัตน์ โกศล. (2559). การพัฒนาสถานศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ. (2554). คู่มือการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ฉบับสมบูรณ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563, จาก http://www.kruinter.com/file/29720141006205700-%5bkruinter.com%5d.pdf.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดขอนแก่น. (2561). แนวทางการประกันคุณภาพภายในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ/เขต. ขอนแก่น: กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงาน กศน. จังหวัดขอนแก่น.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดขอนแก่น. (2563) กรอบแนวทางการพัฒนาและการยกระดับคุณภาพการศึกษา. ขอนแก่น : สำนักงาน กศน.จังหวัดขอนแก่น

อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2558). กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดขอนแก่น. (2563). ข้อมูล N Net 2/2561 – 1/2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2563, จากhttps://sites.google.com/dei.ac.th/information-khonkaennfe/

Almanzar, A. (2014). Impact of Professional Learning Community Practices on Morale of Urban High School Teachers. (Doctor’s Thesis, Florida, Nova Southeastern University).

Yamane, Taro. (1973). Statistics. An introductory Analysis (3rded). New York: Harper And Row Publication.