ความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานตามมาตรฐานการจัดการเรียนรู้โดยใช้ DLIT ของสถานศึกษาสหวิทยาเขตแวงใหญ่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25

Main Article Content

อภิชาติ ดอนพระหม
วิเชียร รู้ยืนยง

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้  เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานตามมาตรฐานการจัดการเรียนรู้โดยใช้ DLIT ของสถานศึกษาสหวิทยาเขตแวงใหญ่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ประชากรกลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยการใช้สูตรคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่ (Yamane) ซึ่งมีผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน  10 คน  และครูผู้สอนจำนวน  129  คน  รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 139 คนซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิแบบเป็นสัดส่วน (Stratified Random Sampling)กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยแบบสอบถามประมาณค่า  5  ระดับ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการดำเนินงานตามมาตรฐานการจัดการเรียนรู้โดยใช้ DLIT ของสถานศึกษาสหวิทยาเขตแวงใหญ่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ ในการดำเนินงานตามมาตรฐานการจัดการเรียนรู้โดยใช้ DLIT ของสถานศึกษาสหวิทยาเขตแวงใหญ่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็น ในการดำเนินงานตามมาตรฐานการจัดการเรียนรู้โดยใช้ DLIT ของสถานศึกษาสหวิทยาเขตแวงใหญ่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 สามารถเรียงลำดับความต้องการจำเป็นได้ดังนี้ (1) ด้านครูผู้สอน (2) ด้านผู้บริหารสถานศึกษา (3) ด้านปัจจัยพื้นฐานของสถานศึกษา (4) ด้านนักเรียน ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกมล ไพศาล (2560). บทบาทครูในการส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนในชั้นเรียนของโรงเรียนเอกชน.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒประสานมิตร).

ครรชิต มาลัยวงศ์. (2539) ก้าวไกลไปกับคอมพิวเตอร์.กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ.

ดวงจันทร์ แก้วกงพาน.(2558). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในการจัดการเรียนการสอน สำหรับนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21. ลำปาง: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

ปภาวี ตั้งดวงดี. (2559) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) .กรุงเทพมหานคร: เคทีคอมพ์แอนด์คอนซัลท์.

ยืน ภู่วรวรรณ และสมชายนำประเสริฐ. (2546). ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย.กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ศูนย์ประสานงานสหวิทยาเขตแวงใหญ่.(2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ DLIT. วารสารสหวิทยาเขตแวงใหญ่, 3(5), 3-7.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.

สุรพงษ์ วงษ์ทน. (2552). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต.กรุงเทพมหานคร:บริษัทเธิร์ดเวฟเอ็ดดูเคชั่น.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

______. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). แนวทางการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT). กรุงเทพฯ: อักษรไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). นโยบายส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตของประเทศไทย. (รายงานสรุปการสัมมนา). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

เอกภูมิ จันทร์ขันตี. (2558). การจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล(พิมพ์ครั้งที่ 2).บุรีรัมย์ : สถาบันราชภัฎบุรีรัมย์.