การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการด้วยชุดกิจกรรมการทดลอง แบบสืบเสาะบนเฟซบุ๊ก (Facebook) เรื่อง สารบริสุทธิ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการด้วยชุดกิจกรรมการทดลองแบบสืบเสาะบนเฟซบุ๊ก (Facebook) เรื่อง สารบริสุทธิ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีจุดประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการทดลองแบบสืบเสาะบนเฟซบุ๊ก (Facebook) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สารบริสุทธิ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการทดลองแบบสืบเสาะบนเฟซบุ๊ก (Facebook) 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการทดลองแบบสืบเสาะบนเฟซบุ๊ก (Facebook) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) ชุดกิจกรรมการทดลองแบบสืบเสาะบนเฟซบุ๊ก (Facebook) 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องสารบริสุทธิ์ และ 4) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 จำนวน 42 คน ผลการวิจัยพบว่า
- ประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการทดลองแบบสืบเสาะบนเฟซบุ๊ก (Facebook) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 จากการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมการทดลองแบบสืบเสาะบนเฟซบุ๊ก (Facebook) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.53/81.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (80/80)
- ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรื่อง สารบริสุทธิ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังใช้ชุดกิจกรรมการทดลองแบบสืบเสาะบนเฟซบุ๊ก (Facebook) สูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมการทดสอบแบบสืบเสาะบนเฟซบุ๊ก (Facebook) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังใช้ชุดกิจกรรมการทดลองแบบสืบเสาะบนเฟซบุ๊ก (Facebook) สูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมการ ทดลองแบบสืบเสาะบนเฟซบุ๊ก (Facebook) อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กันตภณ พาหุมันโต. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติ เรื่องการใช้โปรแกรมนำเสนอกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นประถมสึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีสอนแบบชี้แนะร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา).
จิราภรณ์ กาลนิล. (2552). ผลการใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหมกแข้ง จังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช).
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2523). กระบวนสันนิเวทนาการและระบบสื่อการสอน. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ดนุพล สืบสำราญ. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลิ้นฟ้าพิทยาคม จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันเฉียงเหนือ. 9(2), 1-10.
เตือนตา ทองดี. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชา วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-learning) กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์).
ทวี มณีนิล. (2551). ผลการใช้เทคนิคการสร้างมโนทัศน์รูปตัววีที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย จังหวัดศรีสะเกษ. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พันธ์ ทองชุมนุม. (2547). การสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพ:โอเดียนสโตร์.
เมธาวี จำเนียร. (2561). ประโยชน์ ปัญหา และแนวทางแก้ไขการใช้สื่อออนไลน์ในการเรียนอย่างมีประสทธิภาพในโรงเรียน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารราชพฤกษ์, 16(3), 113-121.
วรรณทิพา รอดแรงค้า. (2544). การสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร. พัฒนาคุณภาพวิชาการ.
วุฒิชัย ประสารลอย. (2543). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นวัตกรรมเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนวี.เจ.พรินติ้ง.
ยืน ภู่วรวรรณ. (2531). การใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมฤทัย แปลงศรี. (2556). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ เรื่อง สารและสมบัติของสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสืบเสาะหาความรู้. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์. (2556). การประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Seok, O.P. (2009). Hoe can TeacherS Help Students Formulate Scientific Hypotheses?Some Strategies Found in Abducctive Inquiry Activities of Earth Science. International Journal of Science Education, 32, 541-560.