การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ และยืนยันองค์ประกอบของการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1)การศึกษาวิเคราะห์ตัวแปร โดยการทบทวนวรรณกรรม และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 2)การสร้างเครื่องมือ 3)การเก็บข้อมูล และวิเคราะห์องค์ประกอบ และ4)การยืนยันผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น (Opinionnaires) ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และข้าราชการครู จากสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 94 แห่ง รวม 282 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งประเภท (Stratified Random Sampling) โดยจำแนกตามสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พบว่า มี 6 องค์ประกอบ ดังนี้1) ด้านการวางแผนจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) ด้านการวางแผนกลยุทธ์ 3) ด้านการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) ด้านการกำกับติดตามและส่งเสริมการบริหาร 5) ด้านการเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม และ 6) ด้านการพัฒนา การออกแบบและเชื่อมโยงองค์ความรู้จากแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งนี้ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าองค์ประกอบทั้ง 6 องค์ประกอบมีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์
Article Details
References
คมกริช ชาญณรงค์. (2560). การใช้สาระด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในสถานศึกษา สภาพปัญหา และการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(3), 64-65.
นงเยาว์ อุทุมพร. (2561). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อ นําไปใช้บูรณาการในการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาอย่างยั่งยืน อําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี).
เบญจรัตน์ เมธะปัญญา. (2561). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมที่ส่งเสริมการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลวัดเชียงยืน จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: โรงเรียนเทศบาลวัดเชียงยืน.
ปฐวี มณีวงศ์. (2558). การบริหารแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของสถานศึกษามัธยมศึกษาใน จังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง).
พยุง ใบแย้ม และคณะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นที่เหมาะสมเพื่อการจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา. วารสารสารสนเทศ, 14(1), 23-29.
พลพักษ์ คนหาญ. (2558). รูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียนกับชุมชนในการนําภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).
มนชญา สระบัว. (2562). การออกแบบการเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์สถาปัตยกรรม : เรือนอีสาน. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(3), 103.
วัลยา ทองงาม. (2555). การใช้และบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการนักเรียนของสถานศึกษาอนุบาลวีรยา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. อ้างถึงใน ปฐวี มณีวงศ์. (2558). การบริหารแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของสถานศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง).
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2560). รายงานการสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2560, จาก http://www.onesqa.or.th/upload/
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง ทิศทางการพัฒนาคุณภาพการมัธยมศึกษายุคใหม่ (พ.ศ.2553-2561). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
_____. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา พุทธศักราช 2552 (ปรับปรุง พุทธศักราช 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Blanca Martins. (2007). Wisdom Management: The Last Frontier. in 8th European Conference on Knowledge Management 2007. Barcelona: Spain.
Dawruwan Thawinkarn. (2015). Local Wisdom Model in School Education Management. Journal of Educational Administration, Khon Kaen University, 11(1), 11-17.
Dubrin A.J. and R.D. Ireland. (1993). Management Organization, 2nd ed. Ohio: South-Western Publishing Co..
Kaiser, cited in Barbara G. Tabachnik, and Linda S. Fidell. (2001). Using Multivariate Statistics. New York: Harper & Row Publishers.
Marjorie Mayo. (2020). Community-based Learning and Social Movements: Popular Education in a Populist Age. Chicago: Policy Press.
Roland Bardy, Arthur Rubens. (2017). Building Intellectual Capital for Sustainable Development: Combining Local Wisdom and Advanced Knowledge. in 9th European Conference on Intellectual Capital, 8(2), 19.
Witthaya Mekhum. (2012). Direction to Manage OTOP Entrepreneurship Based on Local Wisdom. International Journal of Social, Behavioral, Educational, Economic, Business and Industrial Engineering, 6(8), 2261-2263.
Yin Cheong CHENG. (2002). Fostering Local Knowledge and Wisdom in Globalized Education: Multiple Theories. The 8th International Conference on Globalization and Localization Enmeshed: Searching for a Balance in Education. December 6-7, 2002. Bangkok.