การสร้างแบรนด์โรงเรียนเอกชนระดับปฐมวัยในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ทิวาพร โง๊ะบุดดา
วิเชียร รู้ยืนยง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็น และ 3) เสนอแนะการสร้างแบรนด์โรงเรียนเอกชนระดับปฐมวัย ในจังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรในสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย ในจังหวัดขอนแก่น ปีการศึกษา 2562 จำนวน 117 โรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหาร 117 คน ครูผู้สอน 616 คน และกรรมการสถานศึกษา 585 คน รวมทั้งหมด 1,318 คน ขนาดได้จากการคำนวณสูตร Taro Yamane (1973) ที่ระดับความคลาดเคลื่อนในการสุ่มที่ 0.05 ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้น (Stratified Random Sampling) ได้แก่ ผู้บริหาร 60 คน ครูผู้สอน 196 คน และกรรมการสถานศึกษา 60 คน รวมทั้งสิ้น 316 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00  มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัจจุบันในการสร้างแบรนด์โรงเรียนระดับปฐมวัย จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

  2. ความต้องการจำเป็นในการสร้างแบรนด์โรงเรียนระดับปฐมวัย จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมค่าดัชนี PNIModifieds ของความต้องการจำเป็นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.64 ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านชื่อเสียง รองลงมา คือ ด้านอัตลักษณ์ ด้านวัฒนธรรมองค์กร และด้านที่มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุดคือ ด้านบุคลิกภาพ

       3.  ข้อเสนอแนะการสร้างแบรนด์โรงเรียนเอกชนระดับปฐมวัยจังหวัดขอนแก่น 1) ด้านชื่อเสียง ควรมีการสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาของผู้ปกครอง ชมชน สังคม 2) ด้านอัตลักษณ์ ควรสร้างผลผลิตที่ได้รับเป็นที่พึงพอใจของผู้ปกครอง มีหลักสูตรที่ทันสมัยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต 3) ด้านวัฒนธรรมองค์กร ควรมีปณิธานและมีการสืบทอดเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่นต่อการพัฒนาโรงเรียน ผู้บริหารส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 4) ด้านความสัมพันธ์ ควรมีหน่วยงานสนับสนุนความสัมพันธ์ เช่น สมาคมผู้ปกครองหรือสมาคมศิษย์เก่า ฯลฯ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและจงรักภักดีของบุคลากรต่อสถานศึกษา 5) ด้านการรับรู้แบรนด์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีชื่อเสียง มีวุฒิทางการศึกษาที่เหมาะสม สร้างความโดดเด่นจนผู้รับบริการสามารถบอกความโดดเด่นของโรงเรียนได้ 6) ด้านบุคลิกภาพของแบรนด์ควรมีการสร้างความเข้มแข็งของแบรนด์โรงเรียนให้เป็นที่คาดหวังของชุมชน สังคม ผู้ปกครอง เพื่อสร้างความมั่นใจและมีความน่าเชื่อถือต่อการตัดสินใจเข้าศึกษา และ 7) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรมีการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร และพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะกับยุคการศึกษาในศตวรรษที่ 21

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษม วัฒนชัย. (2543). ระบบมาตรฐานและการประกันคุณภาพที่ดี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

จุมพล รามล. (2557). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแบรนด์โรงเรียนเอกชน. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 11(1), 74-81.

ชัยมงคล สุพรมอินทร์. (2557). งบประมาณรายจ่ายภาครัฐกับการศึกษาไทย: นัยสำคัญบางประการทางการคลัง ว่าด้วยการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 6(1), 81-99.

นริสรา พึ่งโพธิ์สภ และคณะ. (2559). การรับรู้ภาพลักษณ์แบรนด์ การสร้างแบรนด์ภายใน และความยึดมั่นด้านความรู้สึกต่อแบรนด์องค์กรของบุคลากรในมหาวิทยาลัย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 8(2), 71-92.

นรรถสรรพ เล็กสู่. (2558). การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะเด่นชัดเฉพาะของโรงเรียน สู่ความเป็นโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนยอดนิยมในภาคใต้. วารสารการบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 15(พิเศษ), 191-202.

บัญชา แสงหิรัญ. (2551, 19 สิงหาคม). สัมภาษณ์โดย วิทวัส สัตยารักษ์ ที่มหาวิทยาลัยอัชสัมชัญ.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). เอกสารประกอบการบรรยาย “การศึกษาไทย 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา”. วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. สืบค้น 23 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.dpu.ac.th/ces/upload/content/files/2559.pdf

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2556). แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2556-2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.

สมชาติ ธรรมโภคิน. (2562). กลยุทธ์การสร้างแบรนด์โรงเรียนเอกชนสู่โรงเรียนยอดนิยม. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ขอนแก่น.

อุทัย ดุลยเกษม. (2547). ยุทธศาสตร์สังคมไทยในการสร้างวิถีแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา.

Bartell, M. (2003). Internationalization of Universities: A University Culture- Based Framework. Higher Education, 45(1), 43-70. Retrieved September 20, 2019. From https://doi.org/10.1023/A:1021225514599

Burmann, C., Zeplin, S., Riley, N. (2009). Key Determinants of Internal Brand Management Success: An Exploratory Empirical Analysis. Journal of Brand Management, 16, 264-284.

Di Martino, C., & Jessen, S. B. (2014). School brand management: The policies, practices and perceptions of branding and marketing in New York City’s public high schools. Urban Education, 51(5). Retrieved June 28, 2019, from https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/0042085914543112

Hatch, M. J. & Schultz, M. (2008). Taking brand initiative: how companies can align strategy, culture, and identity through corporate branding. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Mount, J., & Belanger, Charles H. (2004). Entreneurship and Image Management in Higher Education: Pillars of Massification. The Canadian Journal of Higher Education, 34(2), 125-140.