รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) ติดตาม และประเมินประสิทธิผลรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 381 คน ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนา การศึกษารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษา ภาคะวันออกเฉียงเหนือ จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เพื่อนำมาร่างรูปแบบ ตรวจสอบร่างรูปแบบโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ การสร้างและยืนยันรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 การติดตามและประเมินประสิทธิผลรูปแบบการพัฒนา โดยทดลองใช้กับครูที่สอนวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จำนวน ทั้งหมด 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
- องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษามี 5 องค์ประกอบ คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ และเป้าหมายการเรียนรู้ ทักษะของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ การใช้สื่อและเทคโนโลยีการศึกษา การพัฒนาวิชาชีพครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ และคุณธรรม จริยธรรมของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ
- รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการพัฒนา และการวัดและการประเมินผล ดำเนินการในระยะเวลา 2 วัน โดยใช้คู่มือการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการ สำหรับครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 5 หน่วย ประกอบการปฏิบัติจริง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาที่ร่วมวิจัยมีภาวะผู้นำทางวิชาการหลังเข้าร่วมทดลองใช้รูปแบบเพิ่มขึ้น โดยค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าเท่ากับ 0.7625 หรือคิดเป็นร้อยละ 76.25
4. การนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับไปพัฒนาตนเอง และพัฒนางาน ของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.จำกัด.
ไกศิษฏ์ เปลรินทร์ (2552). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศ.ด. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทิศนา แขมมณี . (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.
ยนต์ ชุ่มจิต. (2558). ความเป็นครู (พิมพ์ครั้งที่6). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
รัชฎาพร พิมพิชัย. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ค.ด. สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
รัตติยา พร้อมสิ้น. (2559). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียนประถมศึกษา. สังกัดสานักงานศึกษาธิการภาค 11. วิทยานิพนธ์ ค.ด. สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิศิษฎ์ มุ่งนากลาง. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตตรวจราชการที่ 11. วิทยานิพนธ์ ค.ด. สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สมาน อัศวภูติ. (2538). การพัฒนารูปแบบการบริหารการประถมศึกษาจังหวัด. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการกรมอาชีวศึกษา. (ม.ป.ป.). 6 เดือนแห่งการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอาชีวศึกษาทศวรรษที่สอง. กรุงเทพฯ : บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง จำกัด :119.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพรส (1989).
อาภารัตน์ ราชพัฒน์. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ศ.ด. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Bossert, A. (1998). Leadership in organization. Eagle wood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Blasé, J., & Blasé, J. (1998). Principals’ instructional leadership and teacher development: teachers’ perspective. Educational Administration Quarterly, 35(3), 349-378.
Hopkins et al. (1997). Making Sense of Change. In M. Preedy, R. Glatter, and R. Levacic. Educational Management: Strategy, Quality and Resource. Buckingham: Open University Press.
Jazzar, M. and Algozzine, B. (2007). Keys to Successful21st Century Educational Leadership. Toronto : Pearson.
Lieberman, A.; Miller, L. (Eds.). (2004). Teachers caught in the action : Professional development that matters. New York : Teachers College Press.
Locke, E.A. & Latham, G.P. (1990). A Theory of Goal Setting and Task Performance. Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hall.
Riedl, R., Smith, T., Ware, A., Wark, A., & Yount, P. (1998). Leadership for a technology rich educational environment. Paper presented at the Society for Information Technology and Teacher education International Conference, Washington DC.
Robbins, S. P.(1996). Prentice Hall Organization Behavior : Concept, Controversies and Applications. (7 th ed.) Englewood Cliffs; NJ : Prentice Hall.
Supovitz, J.A., & Poglinco, S.M. (2001). Instructional leadership in a standard-based reform. The Consortium for Policy Research in Education. Retrieved June 5, 2009 from http://eric.uoregon.edu/ReproductionRelease.html