การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหาร งานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2

Main Article Content

ศุภลักษณ์ ชัยอาวุธ
เพียงแข ภูผายาง

บทคัดย่อ

           การค้นคว้าอิสระในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ


2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ 4) สร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการจากการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 468 คน กำหนดโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่มอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบสอบถามเกี่ยวกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีค่าความเชื่อมั่น 0.947 แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ มีค่าความเชื่อมั่น 0.959 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน


                   ผลการศึกษาพบว่า


  1. การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้านประกอบด้วยด้านมีวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านภาวะผู้นำ และด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้านประกอบด้วยด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการวัดผล ประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ด้านการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนและด้านการนิเทศการศึกษา

  3. การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างสูงถึงระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้านและมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .655-.859

  4. การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย ด้านมีวิสัยทัศน์ร่วม(X1) ด้านการทำงานเป็นทีม(X2) ด้านภาวะผู้นำ(X3) และด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้(X4) ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ(Y) โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 89.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สร้างสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้

          gif.latex?\widehat{Y}i  = .210+.520X2+.190X1+.181X4+.065X3


        gif.latex?\widehat{Z}yi = .604Zx2+.230Zx4+.209Zx1+.090Zx3

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรองกาญจน์ นาแพร่. (2560). การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงาน วิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐ จังหวัดสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. (2562). รายงานผลการบริหารและทรัพยากรบุคคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. ชัยภูมิ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2.

จักรพันธ์ รัตนเพชร. (2558). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20 จังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี).

จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. พิษณุโลก : รัตนสุวรรณ.

ชวลิต ชูกำแพง (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครู Professinal Learning Community : PLC. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยสารคาม, 23(2) ธันวาคม, 1-6.

ชาตรี มาประจง. (2557). การพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ขนาดเล็กสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์).

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2551). การบริหารงานวิชาการและการนิเทศภายในสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ปัตตานี : ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักงานวิทยาบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ณรงค์ฤทธิ์ อินทนาม. (2553). การพัฒนาหลักเทียบสำหรับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ดลฤดี กลิ่นภูมิศรี (2558). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเทศบาล สังกัดเทศบาลนครลำปาง. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.)

นฤมล บุญพิมพ์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกับประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจบุรี).

พินิจ มีคำทอง. (2562). เทคนิคการวิเคราะห์สภาพการพัฒนาเพื่อการวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(3) กันยายน-ธันวาคม, 111-120.

ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี : มนตรี.

มุฑิตา ชมชื่น (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง)

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ (2554). รูปแบบเพื่อพัฒนาการกระจายอำนาจการบริหารงานวิชาการของ โรงเรียนในฝัน เขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง. สงขลา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

รุจิร์ ภู่สาระและจันทรานี สงวนนาม. (2545). การบริหารหลักสูตรในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

วิจารณ์ พานิช (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น.

วิจารณ์ พานิช. (2555). ครูแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องช่วยแก้ไขความรู้ผิด ๆ ของนักเรียน. กรุงเทพฯ : สถาบัน ส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.

สมุทร สมปอง. (2558). การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนประถมศึกษา : การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฏีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและ พัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).