ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิผลของงานตรวจสอบภายในของกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิผลของงานตรวจสอบภายในของกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภายในของกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 152 คน ได้มีการสุ่มจากกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และใช้สถิติในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ เพื่อการทดสอบสมมติฐาน
ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยด้านการสนับสนุนของฝ่ายบริหาร ระบบสารสนเทศ วัฒนธรรม การทำงาน การรายงานการตรวจสอบที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของงานตรวจสอบภายในด้านกระบวนการกำกับดูแลกิจการ (2) ปัจจัยด้านการสนับสนุนของฝ่ายบริหาร ระบบสารสนเทศ วัฒนธรรมการทำงาน ความรู้ของผู้ตรวจสอบภายใน ความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายใน การรายงานการตรวจสอบที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของงานตรวจสอบภายในด้านความรับผิดชอบและการรายงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ (3) ปัจจัยด้านการสนับสนุนของฝ่ายบริหาร วัฒนธรรมการ ความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายใน การรายงานการตรวจสอบที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของงานตรวจสอบภายในด้านการวัดผลการปฏิบัติงาน (4) ปัจจัยด้านระบบสารสนเทศ ความรู้ของผู้ตรวจสอบภายใน การรายงานการตรวจสอบที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของงานตรวจสอบภายในด้านการให้สัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า ผลที่ได้จากการศึกษาสามารถนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบภายในเพื่อส่งเสริมให้การปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการตรวจสอบ อันจะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อการตรวจสอบภายในในอนาคตสืบต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ขวัญหทัย ใจเปี่ยม , ภริศฑ์ชาก์ ชดช้อย และ อาทิตย์ สุจเสน. (2564). ระบบการควบคุมภายในองค์กร ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การสอบบัญชี ในมุมมองของผู้ตรวจสอบบัญชีและรับรองบัญชีในประเทศไทย. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 11(1). 139–154.
ชนะทัพ อินทามระ. (2552). การเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบภายในเพื่อการบริหารมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของกองทัพไทย. หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 52 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
ชลาลัย สำเภาเงิน. (2556). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการให้ความร่วมมือของผู้รับการตรวจสอบภายใน กลุ่มตัวอย่างพนักงานบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัลกรุ๊ป. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณทิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ชาญนุกร เพ็ญศิริ. (2548). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความมีประสิทธิภาพของการตรวจสอบภายใน ในมุมมองของคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). ข้อมูลรายบริษัท/หลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2564, จาก https://www.set.or.th/set/commonslookup.do?language=th&country=TH
พรชัย วีระนันทาเวทย์ และสุรีย์ โบษกรนัฏ. (2563). การตรวจสอบภายในสมัยใหม่. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 7(1), 165-178.
พรทิพย์ ภูถี่ถ้วน. (2557). ผลกระทบของการควบคุมภายในระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีต่อคุณภาพ.(รายงานทางการเงินของสหกรณ์การเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิราอร รุ่งหิรัญ. (2565). ผลกระทบของกลยุทธ์การตรวจสอบภายในที่มีต่อคุณภาพการตรวจสอบภายในของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค. (สารนิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).
แพรวารี จูมด้วง. (2560). ผลกระทบของประสิทธิภาพการควบคุมภายในที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (สารนิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).
ภริศฑ์ชาก์ ชดช้อย, ขวัญหทัย ใจเปี่ยม และ อาทิตย์ สุจเสน (2564) ที่ศึกษาระบบการควบคุมภายในองค์กร ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การสอบบัญชีในมุมมองของผู้ตรวจสอบบัญชีและรับรองบัญชีในประเทศไทย.วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 139-154.
สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย. (2554). มาตรฐานการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน. กรุงเทพฯ: สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย.
อัจฉรารัตน์ สิทธิ. (2553). ทัศนคติของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิผลของการตรวจสอบภายใน ในมุมมองของผู้รับการตรวจ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (สารนิพนธ์ ปริญญาการบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
อุษณา ภัทรมนตรี. (2552). การตรวจสอบภายในสมัยใหม่ : แนวคิดและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
Asker, Devid A., Kumar, V ans Say. and George, S. (2001). Marketing Research. New York: John Wiley And Son.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed). New York : Horper and Row Publication.