แนวทางการตลาดเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มรายได้ของหนองขามรีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

เกศรินทร์ สายทิพย์
วิเชียร วรพุทธพร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการตัดสินใจเข้าพักของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7P’s ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้สถานที่พักรีสอร์ท  ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 3) เพื่อวางแผนการตลาดเชิงกลยุทธ์ทางเลือกเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับ   หนองขามรีสอร์ท โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ มีวัตถุประสงค์ในการเข้าพักเพื่อพักผ่อนและท่องเที่ยว ร้อยละ 62.50 มักเข้าพักกับสมาชิกในครอบครัว ร้อยละ 40.50 โดยมีระยะเวลาในการเข้าพัก 3 วัน 2 คืน ร้อยละ 53.00 เหตุผลในการเลือกเข้าพักคือ ทำเลที่พักใกล้สถานที่ท่องเที่ยว ร้อยละ 93.75  และปัจจัยความพึงพอใจเมื่อเข้าพักคือมีบริการเครื่องดื่มต้อนรับ ร้อยละ 84.96 สำหรับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานที่พักรีสอร์ทมากที่สุดได้แก่ ด้านบุคลากร (gif.latex?\bar{X} = 4.43) ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (gif.latex?\bar{X} = 4.31) และ ด้านราคา (gif.latex?\bar{X} = 4.31) จากผลการศึกษามาพิจารณาร่วมกันกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก วิเคราะห์แรงกดดัน 5 ประการ การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงกลยุทธ์เพื่อมากำหนดแนวทางการตลาดได้ทั้งสิ้น 2 โครงการ ดังนี้ 1) โครงการสร้างความรู้จักหนองขามรีสอร์ท 2) โครงการบริการใส่ใจลูกค้าและทันสมัย โดยจะมีการประเมินผลโครงการหลังจากเสร็จสิ้นโครงการ ซึ่งมีงบประมาณในการทำแผนโครงการทั้งสิ้น 30,000 บาท และคาดว่าภายในปี 2564 จะมียอดขายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนร้อยละ 15 จากยอดขายในปี 2563

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิตินักท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411

กุลนิษฐ์ ฉัตรอุทัย. (2560). แผนการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขาย KKK รีสอร์ทในเขตอำเภอแม่สอด. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณทิต วิทยาลัยบัณทิตศึกษาการจัดการ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ณฐมน กัสปะ. (2564). ส่วนประสมทางการตลาด 4C's ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ผ่านสื่อออนไลน์ (เฟสบุ๊ค) ของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ).

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2564). แนวโน้มธุรกิจอุตสาหกรรมธุรกิจโรงแรม. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.krungsri.com/getmedia/4bc02778-2d01-404b-9bcf-14c4bf2e774c/IO_Hotel_210223_TH_EX.pdf.aspx

นนทนันท์ งามนิวัฒนวงศ์. (2557). กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อพัฒนาธุรกิจบ้านสวนกรีนวิวรีสอร์ท ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณทิต วิทยาลัยบัณทิตศึกษาการจัดการ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ไพลิน เพ็งทอง. (2559). แนวทางในการพัฒนาและเพิ่มรายได้อาเซียนรีสอร์ท อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณทิต วิทยาลัยบัณทิตศึกษาการจัดการ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

สมัญญา สติมั่น. (2561). การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด ไข่มุกทะเลหมอกรีสอร์ท อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพรชบูรณ์. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณทิต วิทยาลัยบัณทิตศึกษาการจัดการ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). วาระพัฒนาที่1 : การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว. สภาปฏิรูปแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.