การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้ และประเมินความพึงพอใจ ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ดนุพล สืบสำราญ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้ และประเมินความพึงพอใจ ของนักเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือก่อนเรียน และหลังเรียน และ 2) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 ในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน  20 โรงเรียน จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 2,157 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน แบบวัดความรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้   t-test (Dependent Samples) 


ผลการวิจัย พบว่า 1) การเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนด้านการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฬารัตน์ บุญชู. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช).

ชยปภา ทยาพัชร. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ และความพึงพอใจในการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาขาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ชุติพัทธ์ ช่างประดิษฐ์. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD วิชาความรู้เกี่ยวกับงานอาชีพ ของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาภาษาต่างประเทศ. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นาฏยา ปั้นอยู่. (2543). ผลของการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ที่มีต่อเชาว์อารมณ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชามัธยมศึกษา คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

พิมพันธ์ เตชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : แนวคิด วิธี และเทคนิคการสอน 1. กรุงเทพฯ: บริษัทเดอะมาสเตอรกรุ๊ปแมเนจเม้น จำกัด.

วัลยา บุญอากาศ. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์¬ทางการเรียน และทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี).

วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล. (2563). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ วิชากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการ และวิจัย มหาวิทยาลัย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(2), 22-40.

โสรัจจ์ แสนคำ. (2560) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสารในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการ ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 1506-1522.

Artzt, Alice F. and Newman, Claire M. (1990). Cooperative Learning. The Mathematics Teacher, 83(6), 488-452.

Johnson, D.W., Johnson, R.T., & Holubec, E.J. (1990). Cooperation in the Classroom. Edina, Minnesota: Interaction Book Co.

Slavin, Robert E. (1995). Cooperative Learning: Theory, Research and Practice. Massachusetts: A Divisions of Simon & Schuster.