การศึกษาจุดอันตราย: กรณีศึกษาถนนศรีจันทร์ในเขตพื้นที่เทศบาลนครขอนแก่น ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนน จุดเสี่ยง จุดอันตราย ของถนนศรีจันทร์ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของถนนเพื่อความปลอดภัยทางถนนในระดับเบื้องต้น ซึ่งมีพื้นที่ศึกษาคือ ถนนศรีจันทร์ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย โดยนำข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนจากโรงพยาบาลขอนแก่นและข้อมูลประสบการณ์ด้านอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่จากการอบรมเชิงปฏิบัติการของผู้นำชุมชนมาใช้ในการวิเคราะห์ งานวิจัยนี้มีการวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนโดยวิธีความรุนแรงของอุบัติเหตุ (Accident Severity Method) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาข้อมูลของโรงพยาบาลขอนแก่นพบว่าทางแยกที่อันตรายที่สุดคือ ถนนมิตรภาพ ตัด ถนนศรีจันทร์ ช่วงถนนที่อันตรายที่สุดคือ ถนนศรีจันทร์ จาก ถนนอนามัย ถึง ถนนชาตะผดุง และข้อมูลจากผู้นำชุมชนพบว่าจุดที่อันตรายที่มักพบเห็นอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุดคือบริเวณสี่แยกสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ปัญหาพื้นที่ส่วนใหญ่ที่พบคือถนนขาดการดูแลรักษาไม่มีสัญลักษณ์เครื่องหมายจราจรบนผิวถนน จากปัญหาที่พบได้เสนอแนะให้ปรับปรุงเครื่องหมายจราจรบนผิวถนนและอุปกรณ์ความปลอดภัยทางถนนตามหลักทางวิศวกรรมความปลอดภัยในเบื้องต้น และจากการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการลงทุนพบว่าการลงทุนในการแก้ไขปัญหาจุดอันตรายบนถนนศรีจันทร์มีความคุ้มค่า
Article Details
References
เจษฎา คำผอง. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของยานพาหนะกับสภาพกายภาพของถนนและความรุนแรงของอุบัติเหตุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
ชัยเทพ สาครวิเศษ. (2559). แนวทางการปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน กรณีศึกษาแยกสวนหย่อมธรรมนูญวิถีเทศบาลนครหาดใหญ่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ธีนิดา บัณฑรวรรณ และ เจษฎา คำผอง. (2564). การศึกษาความคุ้มค่าในการจัดการน้ำท่วมจากมูลค่าความเสียหายและผลกระทบของภัยน้ำท่วม : กรณีศึกษาถนนบ้านกอก ชุมชนบ้านกอก จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(2), 226-240.
ภาสกร เขื่อนเพชร. (2564). การประเมินการลดเวลาสูญเสียขณะออกตัวของพื้นที่จอดเฉพาะรถจักรยานยนต์บริเวณทางแยกสัญญาณไฟจราจร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
ภูวดล พลศรีประดิษฐ์ และ มะลิ โพธิพิมพ์. (2561). การจัดการจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนชุมชนเขตเมือง : กรณีศึกษาชุมชนโคราชคฤหาสน์ทอง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 4(1), 66-76.
ศิริธงชัย ชูนาคา. (2559). การศึกษาความปลอดภัยทางถนนในเขตชุมชนเมือง: กรณีศึกษาบ้านคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ Thai RSC เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน. (2564) .ข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน, ประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2564, จาก https://www.thairsc.com/
Nguyen, Huy Huu, Pichai Taneerananon and Koren, Csaba. (2015). Identifying Black Spots Based on Safety Potential - A Suitable Approach to Accident Reduction in Developing Countries. Journal of the Eastern Asia Society for Transportation Studies, 11, 2241-2257.
World Health Organization. (2018) Global Status Report on Road Safety 2018. Geneva, Switzerland.