การพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านสามขามิตรภาพที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร

Main Article Content

ปรัชญา มานะวงศ์
สุรัตน์ ดวงชาทม
สวัสดิ์ โพธิวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านสามขามิตรภาพที่ 3 2) เสนอนวัตกรรมและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านสามขามิตรภาพที่ 3 3) ศึกษาผลจากการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านสามขามิตรภาพที่ 3 และ 4) ประเมินความรู้ความเข้าใจการประกันคุณภาพภายในของครู บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านสามขามิตรภาพที่ 3 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยประกอบด้วย ผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัยเป็นครู บุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 40 คน ดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4 ขั้นตอน 2 วงรอบ ได้แก่ 1) ขั้นวางแผน 2) ขั้นลงมือปฏิบัติ 3) ขั้นสังเกตการณ์ และ4) ขั้นสะท้อนผล ผลการวิจัย พบว่า 1) มีการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในเป็นประจำทุกปี แต่ไม่สามารถใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานที่แท้จริง ปัญหาในการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ครู บุคลากร ยังไม่เข้าใจในการดำเนินงานประกันคุณภาพแนวใหม่ มีเจตคติต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโดยมองว่าเป็นภาระงานเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากงานสอนและขาดการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในอย่างจริงจัง 2) นวัตกรรมและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านสามขามิตรภาพที่ 3 ประกอบด้วยการทำงานเป็นทีมและการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมและการดำเนินงานโดยใช้โครงการหลัก 2 โครงการและโครงการย่อย 37 โครงการ 163 กิจกรรม 3) ผลจากการพัฒนา การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านสามขามิตรภาพที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก บรรลุผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย ดัชนีชี้วัด และเป้าหมายที่กำหนด 4) ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจการประกันคุณภาพภายในของครู บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านสามขามิตรภาพที่ 3 อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงษ์ พิพิธกุล. (2561). การจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(1), 97-106.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีระยาสาสน์.

ประภาดา คนคล่อง. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : กรณีโรงเรียนอนุบาลคำชะอี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

ไพฑูรย์ แจ่มพันธ์. (2560). กลยุทธ์การบริหารระบบประกันคุณภาพภายในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร,มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ).

สมชาย เผือกตระกูลชัย. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาค17. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ).

สมประสงค์ ยมนา. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต,ราชภัฏอุบลราชธานี).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง แนวปฏิบัติการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2561. ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2555). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). แนวทางการนำมาตรฐานของชาติสู่การปฏิบัติสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.

อภินันต์ อันทวีสิน. (2560). โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพการศึกษาภายใเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศกับประสิทธิผลของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยคริสเตียน).

Kemmis, S. and McTaggart, R. (1988). The Action Research Reader (3rd ed). Geelong, Victoria: Deakin University.