ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับสมรรถนะการทำงานของบุคลากรด้านคลินิกของโรงพยาบาล ป.แพทย์ จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรด้านคลินิกของโรงพยาบาล ป.แพทย์ จังหวัดนครราชสีมา 2) สมรรถนะหลักของบุคลากรด้านคลินิกของโรงพยาบาล ป.แพทย์ จังหวัดนครราชสีมา 3) สมรรถนะตามสายงานของบุคลากรด้านคลินิกของโรงพยาบาล ป.แพทย์ จังหวัดนครราชสีมา 4) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับสมรรถนะหลัก และ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับสมรรถนะตามสายงานของบุคลากรด้านคลินิกของโรงพยาบาล ป.แพทย์ จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรด้านคลินิกของโรงพยาบาล ป.แพทย์ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 220 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ตัวแปรอิสระคือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ตัวแปรตามคือ สมรรถนะการทำงานของบุคลากรด้านคลินิกของโรงพยาบาล ป.แพทย์ จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ สมรรถนะหลัก และสมรรถนะตามสายงาน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ระดับนัยสำคัญ 0.01 การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรด้านคลินิกของโรงพยาบาล ป.แพทย์ จังหวัดนครราชสีมา ด้านที่มีระดับการบริหารสูงสุด คือ ด้านสรรหาและคัดเลือก 2) สมรรถนะหลักของบุคลากรด้านคลินิกของโรงพยาบาล ป.แพทย์ จังหวัดนครราชสีมา ด้านที่มีระดับสูงสุด คือการบริการที่ดี 3) สมรรถนะตามสายงานของบุคลากรด้านคลินิกของโรงพยาบาล ป.แพทย์ จังหวัดนครราชสีมา ด้านที่มีระดับสูงสุด คือ การตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย 4) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับสมรรถนะหลัก โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง ด้านที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะหลักมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับสมรรถนะตามสายงานของบุคลากรด้านคลินิกของโรงพยาบาล ป.แพทย์ จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง ด้านที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะตามสายงานมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กระทรวงสาธารณสุข.
ณัฐปภัษร์ ธนวิรุฬห์โอฬาร นิภาพรรณ ฤทธิรอด พัชรินทร์ อ้วนไตร และสุดถนอม กมลเลิศ. (2563). การประเมินสมรรถนะหลักและความต้องการพัฒนาสมรรถนะหลักของบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ด้านธุรการ งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารพัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่, 5(5), 56-66.
ธัญญานันท์ ศรีธรรมนิตย์. (2561). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิผลของเครือโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานครและในจังหวัดเชียงใหม่. วารสาร โรงพยาบาลสกลนคร, 21(3), 118-128.
ธาดา ราชกิจ. (2563). เสริมสร้างสมรรถนะ (Competency) ให้บุคลากร ส่งเสริมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2564, จาก https://th.hrnote.asia/
ภัทรพงษ์ สันเทพ. (2564). สมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(3), 243-257.
ภานุวัฒน์ นิลศรี. (2564). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(3), 24-37.
มาลี คำคง. (2562). ความปลอดภัยของผู้ป่วย แนวทางการจัดการเรียนรู้ภาคปฏิบัติทางการพยาบาล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(1), 216-228.
เยาวภา ปิ่นทุพันธ์. (2554). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในงานสาธารณสุข หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร. (2564). คู่มือแผนพัฒนาสมรรถนะตามสายวิชาชีพของสำนักอนามัย. กรุงเทพฯ: กลุ่มวิจัยและพัฒนาทางสาธารณสุข สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข.
McClelland, D.C. (1973). Testing for competence rather than for “Intelligence”. American Psychologist, The United States: Harvard University.
Nadler,L.and Wiggs, G.D. (1989). Managing human resources development. SanFrancisco, California: Jossey-Bass.
Tran thi xuan tam, (2015). Core Competency of staff nurses in Binh Dinh Provincial General Hospital, Vietnam. (Thesis submitted in partial fulfillment of the requirement for the master degree of nursing science, Burapha University).
TSIS Team. (2563). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูป. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2564, จาก https://www.thetsis.com/post/research-tips-sampling