แนวทางการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของวิสาหกิจขนาดย่อมในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

จีรพร วงค์ขัติย์
ณัชพล หลั่งนาค
อดิศักดิ์ ย่อมเยาว์
จริยา แก้วภักดี
พรสุนีย์ เพชรน้ำค้าง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดย่อมในจังหวัดเชียงราย 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของวิสาหกิจขนาดย่อมในจังหวัดเชียงราย 3) แนวทางการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของวิสาหกิจขนาดย่อมในจังหวัดเชียงราย โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้ประกอบการ จำนวน 21 ราย ซึ่งเป็นเจ้าของหรือหุ้นส่วนของวิสาหกิจขนาดย่อม วิจัยนี้เป็นการวิจัย     เชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสังเกตและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก วิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอข้อมูลรูปแบบ   การเขียนบรรยาย พบว่า ผู้ประกอบการประสบปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้ยอดขายลดลง มากที่สุด รองลงมาคือ ปัญหาด้านเทคนิคการทำสื่อโฆษณาออนไลน์ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของวิสาหกิจขนาดย่อมมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านการตลาด ปัจจัยด้านทรัพยากรทางการเงิน ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยด้านเครือข่าย ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ปัจจัยด้านทรัพยากรทางกายภาพ ปัจจัยด้านวัฒนธรรม และปัจจัยด้านนวัตกรรม ตามลำดับ ในแต่ละระยะของการเจริญเติบโตของวิสาหกิจขนาดย่อมแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการผลิต ธุรกิจการค้า ธุรกิจการบริการ มีความต้องการปัจจัยการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเสริมสร้างแนวทางการเจริญเติบโตของวิสาหกิจขนาดย่อม ต้องให้ส่งเสริมให้สอดคล้องกับความต้องการในแต่ละระยะการเจริญเติบโตของธุรกิจแต่ละประเภท ดังนี้ ระยะที่ 1 ธุรกิจการผลิตและธุรกิจการค้ามีความต้องการปัจจัยด้านทรัพยากรทางการเงินมากที่สุด ควรชี้ให้ผู้ประกอบการเห็นโอกาส ช่องทางในการจัดหาเงินทุนและการเข้าถึงแหล่งทุน การวางแผนด้านการเงิน ส่วนธุรกิจการบริการ ในระยะแรกมีความต้องการปัจจัยด้านทรัพยากรทางกายภาพมากที่สุด เพราะธุรกิจบริการส่วนใหญ่ต้องอาศัยพื้นที่ หรือทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมในการทำธุรกิจ ระยะที่ 2 ธุรกิจการผลิตและธุรกิจการค้า มีความต้องการปัจจัยด้านการตลาดมากที่สุด ควรส่งเสริมด้านการตลาดโดยใช้หลัก 4P ส่วนธุรกิจการบริการ มีความต้องการด้านการเงินมากที่สุด เนื่องจากเป็นระยะที่ธุรกิจเริ่มเป็นที่รู้จัก แต่อาจจะยังมีส่วนแบ่งตลาดน้อย จึงต้องเร่งพัฒนาปรับปรุงระบบ    การดำเนินงานของธุรกิจทำให้ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ระยะที่ 3 ธุรกิจการผลิต ธุรกิจการค้า และธุรกิจ  การบริการ มีความต้องการปัจจัยด้านการตลาดมากที่สุด เนื่องจากในระยะนี้ธุรกิจเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น ส่วนแบ่งตลาดเริ่มมากขึ้น ควรส่งเสริมปัจจัยด้านการตลาด โดยมุ่งเน้นเรื่องการเพิ่มสายผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้น ระยะที่ 4 ธุรกิจการผลิต และธุรกิจการบริการ มีความต้องการปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ จึงควรมุ่งเน้นที่การทำงานเป็นทีม สร้างความเชื่อมั่นในทีมงาน ทำให้บุคลากรเห็นความมั่นคงจากโอกาสของการเติบโตตามสายงาน ก่อให้เกิดความรักและผูกพันต่อองค์กร ส่วนธุรกิจการค้า มีความต้องการปัจจัยด้านการตลาด ในระยะนี้ธุรกิจเติบโตเต็มที่จึงควรเน้นกลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ระยะที่ 5 ธุรกิจการผลิต และธุรกิจการบริการมี   ความต้องการด้านเครือข่ายความสัมพันธ์มากที่สุด เนื่องจากระยะนี้ธุรกิจเริ่มถดถอย การเข้าร่วมกิจกรรมหรือเข้าร่วมเครือข่ายต่าง ๆ ระหว่างลูกค้า เครือข่ายผู้ประกอบการ หน่วยงานของรัฐ จะทำให้มองเห็นโอกาสทางธุรกิจ ส่วนธุรกิจการค้า ในระยะนี้เป็นระยะที่ธุรกิจเริ่มถดถอย ยอดขายเริ่มตก จึงมีความต้องการปัจจัยด้านการตลาด ควรมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมการตลาด เช่น ลด แลก แจก แถม เพื่อให้ธุรกิจสามารถขายสินค้า ระบายสินค้าให้ได้มากที่สุด หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการได้อย่างเหมาะสมจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบรรลุเป้าหมายของธุรกิจมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2563). โครงสร้างธุรกิจ SME จำนวนผู้ประกอบการและจำนวนการจ้างงาน. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2564. จาก https://sme.go.th/th/page.php?modulekey=469.

______. (2564). GDP MSME ไตรมาสแรกของปี 2564 และคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจ MSME ในปี 2564. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2564. จาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20210604111231.pdf

______. (2564). การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่เมืองเล็ก (Hinterland) :การส่งเสริม SME ในจังหวัดเชียงราย. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2564. จาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/Hinterland%20report%20-%20Chiangrai-20171113110817.pdf

Beasor, Tom and Paul, T. Steele. (2017). Business negotiation: a practical workbook. Aldershot, Hampshire, England: Brookfield, Vt.: Gower.

Berthon, P., Ewing, M. T., and Napoli, J. (2008). Brand management in small to medium-sized enterprises. Journal of Small Business Management, 40(6), 101-105.

Chittithaworn, C., Islarn, M. A., Keawchana, T. and Yusuf, D. H. M. (2011). Factors affecting Business success of Small and Medium Enterprises (SMEs) in Thailand. Asian Social Science, 7(5), 180-189.

Greiner, L. (1997). Evolution and Revolution as Organizations Grow. Harvard Business Review, 10(4), 397-409.

Greiner, L. (1997). Evolution and Revolution as Organizations Grow. Harvard Business Review, 10(4), 397-409.

Johansson, Dan. (2008). The Theory of the Experimentally Organized Economy and Competence Blocs: An Introduction. Journal of Evolutionary Economics, 20(2), 185-201.

Kemayel, L. (2015). Success factors of Lebanese SMEs: An empirical study. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 195 , pp.1123-1128.

Kotler, P., and Keller, K. L. (2012). Marketing management. (14th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Mahrouq, M. (2010). Success factors of Small and Medium Enterprises: The case of Jordan. Zagreb International review of Economics and Business, 13(2), 89-106.

Mathis, R. L., and Jackson. J. H. (2011). Human Resource Management. (13th ed).

USA: South-Western Cengage Learning.

Maurizio, Cisi., Francesco, Devicienti., Alessandro, Manello. and Davide, Vannoni. (2016). The Impact of Formal Networking on the Performance of SMEs. No 39, Working papers, Department of Economics and Statistics (Dipartimento di Scienze Economico-Sociali e Matematico-Statistiche), University of Torino.

Mazurek, G., and Tkaczyk, J. (2016). The impact of the digital world on management and Marketing. Poltext.