ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3

Main Article Content

อัญชลี สิงห์มูล
วิเชียร รู้ยืนยง

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 จำนวน 313 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตร Taro Yamane (Yamane, 1973) ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้มีลักษณะเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ได้ระดับความเที่ยง (Reliability) 0.959  สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) พบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก 2)  ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก และ3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ทุกด้านสอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัย มีความสัมพันธ์กันในทางบวก และมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขจรเดช มิตรอุดม. (2562). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ).

จิรัสญา เพชรร่วงมาค้า และ วิเชียร รู้ยืนยง. (2561). กลยุทธ์การใช้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ).

เจนจิรา โกจารย์ศรีและ นิยดา เปี่ยมพืชนะ. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาศูนย์เครือข่ายแก่นชัยลำภู สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ).

ณธกร ภาโนมัย และ เพียงแข ภูผายาง. (2564). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(2), 212-225.

นนทกร อรุณโน. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 17. (วิทยานิพนธ์ การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).

พรทิพย์ พลประเสริฐ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยนครพนม, 1258-1264. นครพนม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2.

ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มนตรี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. (2563). รายงานแผนปฏิบัติการประจำปี 2563 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3, 13-20. ขอนแก่น: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3.

สุกัญญา แช่มอินทร์. (2555). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพใต้. (วิทยานิพนธ์การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

Bass, B.J., & Avolio, B.J. (1990). Transformational Leadership development. PaloAlgo, CA: Consulting Psychologists.

Lunenburg, F.C. and Ornstein, A. C. (2004). Educational Administration Concepts and Practices. New York: Thomson Learning, Inc.

Mott, P.E. (1972). The Characteristic of Effective Organization. New York: Harper and Row.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3d Ed. New York: Harper and Row Publications.

Zamuto, R.F. (1982). Assessing Organizational Effectiveness, System Change, Adaptation and Strategy. Albany: state University of New York press.