ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร สถานศึกษาเอกชน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ศรัญญา แย้มขะมัง
วิเชียร รู้ยืนยง

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น ระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย สถานศึกษาเอกชนสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ จำนวน 17 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารและครู จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 219 คน โดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC 1.0 ค่าความเชื่อมั่น 0.945 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการประเมินความต้องการจำเป็น (PNI  Modified) 


          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน  สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน  สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น เรียงตามลำดับดังนี้ (1) ด้านวิสัยทัศน์ มี 6 ตัวชี้วัด (2) ด้านจินตนาการ มี 5 ตัวชี้วัด (3) ด้านความไว้วางใจ มี 3 ตัวชี้วัด (4) ด้านการแก้ปัญหา มี 1 ตัวชี้วัด และ (5) ด้านความยืดหยุ่น มี 2 ตัวชี้วัด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. 2545. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2561 – 2564.

เตือนใจ สุนุกล. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

พีระพงษ์ สิทธิอมร. (2561). การจัดการศึกษาที่หลากหลาย เพื่อแสวงหาแนวทางปฏิรูป. (มติชนออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2565, จาก http://www.matichon.co.th/education/new.

แพรวลิตา ภูมิกาศ. (2561). ภาวะผู้นำเชิงสรงสรรคของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร).

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2553). ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ : กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รอซียะห์ ลาเต๊ะ. (2561). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดปัตตานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2563). การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาอาชีวศึกษา. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2561. จาก http://bsq2.vec.go.th/document/.

สุรีรัตน์ โตเขียว. (2560). รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์).

เสาวนีย์ สมบูรณ์ศิโรรัตน์. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

Bennis W., and Nanus B. (1985). Leader: The strategies for taking change. New York: Harper & Row.

Yamane, Taro. (1973). Statistics. An introductory analysis (3rd ed). New York: Harper And Row.