การตลาดเชิงประสบการณ์และส่วนประสมการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อ การกลับมาใช้บริการซ้ำของสถานบันเทิงในเขตภาคเหนือ

Main Article Content

ภาศิริ เขตปิยรัตน์
อิราวัฒน์ ชมระกา
ชัชชัย สุจริต

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของการตลาดเชิงประสบการณ์    ส่วนประสมการตลาดบริการและการกลับมาใช้บริการซ้ำของสถานบันเทิงในเขตภาคเหนือ และ 2) เพื่อศึกษาการตลาดเชิงประสบการณ์ และส่วนประสมการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของ   สถานบันเทิงในเขตภาคเหนือ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ นักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการสถานบันเทิงในเขตภาคเหนือ กำหนดขนาดตัวอย่างโดยสูตรของทาโร ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ   


          ผลการวิจัยพบว่าระดับความสำคัญของด้านการตลาดเชิงประสบการณ์ของสถานบันเทิงในเขตภาคเหนือ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยพบว่าด้านการเลือกใช้วิธีและเครื่องมือมากที่สุด ด้านส่วนประสมการตลาดบริการของสถานบันเทิงในเขตภาคเหนือ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยพบว่าด้านสิ่งที่ให้บริการหรือบริการที่ธุรกิจเสนอให้กับลูกค้าและด้านวิธีการส่งเสริมการขายมากที่สุด สำหรับด้านการกลับมาใช้บริการซ้ำ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานการตลาดเชิงประสบการณ์มีอิทธิพลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของสถานบันเทิงในเขตภาคเหนือ พบว่า ความสมเหตุสมผล การเลือกใช้วิธีและเครื่องมือ และ    การสังเกตสถานการณ์การบริโภค ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 อธิบายค่าความผันแปรของการบริหารประสบการณ์ที่มีอิทธิผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำ ได้ร้อยละ 60.4 (R2 = 0.604) และด้านส่วนประสมการตลาดบริการมีอิทธิพลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของสถานบันเทิงในเขตภาคเหนือ พบว่า ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านกระบวนการในการให้บริการและด้านบุคลากรส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 อธิบายค่าความผันแปรของการตลาดเชิงประสบการณ์ที่มีอิทธิผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำได้ร้อยละ 75.8  (R2 = 0.758)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). เช็คประกาศ กทม.ฉบับ 49 กำหนดนั่งดื่มเหล้าในร้านอาหาร SHA PLUS ไม่เกิน 3 ทุ่ม. สืบค้นเมื่อ10 มกราคม 2565 จากhttps://www.bangkokbiznews.com/news/981569.

กัลยา วานิชยบัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

จุฑาทิพย์ พรมวงศ์, อโณทัย งามวิชัย และ ยุทธนา ธรรมเจริญ. (2561). พฤติกรรมการใช้บริการผับและ สถานบันเทิงรอบสถานศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัย ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 23-37.

ชัชภณ สินภัทรชาติ. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบการกลับมาใช้บริการซ้ำของบัดเจ็ทโฮเทลและโฮสเทลของเมืองท่องเที่ยวหลักในประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(1), 139-154.

ถิรวรรณ สกุลวงศ์สิริโชค และ ณัฐสพันธ์ เผ่าพันธุ์. (2563). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน : การตลาดเชิงประสบการณ์กับการ สนับสนุนแบรนด์ของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทย. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(3), 126-141.

ทิชากร เกสรบัว. (2564). โมเดลเชิงสาเหตุของการสื่อสารแบบปากต่อปาก และสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานบันเทิงยามค่ำคืนในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 16(1), 79-88.

ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา. (2563). การตลาดบริการ : แนวคิดและกลยุทธ์ = Service Marketing : Concepts and Strategies (พิมพ์ครั้งที่ 6, ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2565). สถานบันเทิงปรับเป็นร้านอาหาร ดื่มเหล้าได้ ต้องทำอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565 จาก https://www.prachachat.net/general/news-846584.

พนิตสุภา ธรรมประมวล. (2563). การตลาดบริการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

พีรพงศ์ แท่นวิทยานนท์, เกศรา สุกเพชร และโชคชัย สุเวชวัฒนกูล. (2562). การบริหารประสบการณ์ลูกค้า คุณค่า และความพึงพอใจลูกค้าธุรกิจท่องเที่ยวต่างประเทศ : ความสัมพันธ์เชิงทฤษฎี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(1), 107-122.

มนษิรดา ทองเกิด. (2565). นวัตกรรมการบริการ: กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างของธุรกิจบริการ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(1), 114-129.

ลี่ซือ อ้าย. (2564). ปัจจัยการตลาดเชิงประสบการณ์(Experiential Marketing) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ หัวเว่ยในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

วรงค์สิทธิ์ สิงห์ดำรง และ ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร. (2564). การนำนโยบายการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปปฏิบัติในกรณีสถานบันเทิงบนถนนข้าวสาร. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(4), 75-84.

วรวรรธน์ วิมลอุดมสิทธิ์. (2564). ปัจจัยด้านจิตวิทยาที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถาน บันเทิงย่านเอกมัย ของผู้ใช้บริการสถานบันเทิงในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้าคว้าอิสระปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

วรัสสิญา ศุภธนโชติพงศ์. (2562). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะใช้บริการซ้ำของลูกค้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กรณีศึกษาพื้นที่ส่วนกลางกรุงเทพมหานคร ภาค203. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

สมหมาย โง้วสกุล อุษณีษ์ เสวกวัชรี และ ชาญชัย บัญชาพัฒนาศักดา. (2563). การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของภาคธุรกิจบริการ : กรณีศึกษาสถานบันเทิงในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารคุณภาพชีวิตและกฎหมาย, 15(1), 35-47.

อุมาวรรณ วาทกิจ. (2565). แนวทางการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์สำหรับผู้จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศไทย. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 12(1), 288-302.

Aliedan, M.M., Sobaih, A.E.E., Elshaer, I.A. (2021). Influence of Cities-Based Entertainment on Tourist Satisfaction: Mediating Roles of Destination Image and Experience Quality. Sustainability, 13, 11086.

Kotler, Philip.; Keller, Kevin Lane. (2019). Marketing management (13th ed). New Jersey: Pearson Education Inc.

Mascarenhas, O. A., Kesavan, R., Bernacchi, M. (2006). Lasting customer loyalty: A total customer experience approach. Journal of Consumer Marketing 23(7), 397–405.

Miles, J. and Shevlin, M. (2001). Applying Regression and Correlation. Journal of the Royal Statistical Society. Series D (The Statistician), 50(4) DOI:10.2307/2681241.

Nunnally, J.C. and Bernstein, I.H. (1994). The Assessment of Reliability. Psychometric Theory, 3, 248-292.

Taheri, B., Pourfakhimi, S., Prayag, G., Gannon, M.J. and Finsterwalder, J. (2021). Towards co-created food well-being: culinary consumption, braggart word-of-mouth and the role of participative co-design, service provider support and C2C interactions. European Journal of Marketing, 55(9), 2464-2490.

Thakur, R. (2019). The moderating role of customer engagement experiences in customer satisfaction–loyalty relationship. European Journal of Marketing, 53(7), 1278-131.

Yamane, T. (2010). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.

Mahesh P Bhaskar. (2018). Service Marketing and Quality Strategies. Periodicals of Engineering and Natural Sciences, 6(1), 182-196 .