วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ จัดทำโดยสำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2550 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทศพร มูลรัตน์ เป็นบรรณาธิการคนแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้เปลี่ยนบรรณาธิการเป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เลหล้า ตรีเอกานุกูล และในปี พ.ศ. 2563 ได้เปลี่ยนบรรณาธิการเป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ต้องรัก จิตรบรรเทา โดยกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งคือเพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานและทรรศนะทางวิชาการ เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และเป็นแหล่งข้อมูลจากการเสนอผลงานวิจัยของนักสังคมศาสตร์แขนงต่างๆ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีบทความวิจัยจากคณาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยจำนวนมาก ทางกองบรรณาธิการได้พยายามที่จะอำนวยความสะดวกในการตีพิมพ์เผยแพร่ บนพื้นฐานของการรักษาเกณฑ์มาตรฐานของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai - Journal Citation Index : TCI) ซึ่งให้การรับรองวารสารฉบับนี้ให้อยู่ในระบบฐานข้อมูล
ทางสำนักวิชาสังคมศาสตร์ มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างมาตรฐานของวารสารตามเกณฑ์ของ TCI อย่างต่อเนื่อง แม้ปัจจุบันได้ดำเนินการในรูปแบบของการตีพิมพ์เป็นรูปเล่ม และระบบ e- Journal อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วารสารปีที่ 13 ฉบับที่ 1 เป็นต้นไป ทางวารสารจะเผยแพร่วารสารในระบบ e- Journal เพื่อการประหยัดงบประมาณและเพื่อรองรับความเป็น Thailand 4.0
ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 (2565): วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ
วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้จัดพิมพ์ขึ้นโดยมุ่งหวังเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการเผยแพร่บทความวิจัย (Research Articles) และบทความวิชาการ (Academic articles) ทางด้านสังคมศาสตร์ สาขาการบริหารจัดการและสื่อสารมวลชน และสาขาคหกรรมศาสตร์ของนักวิจัย อาจารย์ นักวิชาการ รวมทั้งนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก เพื่อให้ทุกบทความถูกนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการอย่างกว้างขวาง
ในปีที่ 15 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2565) นี้ วารสารสังคมศาสตร์วิชาการได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบหน้าปกวารสารให้มีภาพลักษณ์ที่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคม และทุกบทความได้รับการวิพากษ์ และแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ซึ่งมีความรู้ และเชี่ยวชาญในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ทำให้บทความทุกเรื่องเกิดองค์ความรู้ และเกิดประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนในการพัฒนาสังคมในปัจจุบัน กองบรรณาธิการขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกกระบวนการของการจัดทำวารสารตั้งแต่เริ่มต้นจนทำให้วารสารเสร็จสมบูรณ์ เพื่อผู้อ่านสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมถึงการนำไปใช้อ้างอิงทางวิชาการได้
ผลงานทางวิชาการที่นำเสนอในฉบับนี้ ได้รวบรวมบทความรวม 8 เรื่อง ซึ่งล้วนแต่เป็นบทความวิจัยในศาสตร์ต่าง ๆ ทางสังคมที่ผู้อ่านสามารถนำไปใช้อ้างอิงในงานเขียนทางวิชาการต่าง ๆ ได้ เนื้อหาของบทความที่นำเสนอให้ฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม การย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายด้วยสีธรรมชาติจากใบสาบเสือ การสร้างพื้นที่ทางสังคมของม้ง การเสริมสร้างตัวตนหลังการเปิดเผยสถานะการมีเชื้อเอชไอวี ของผู้หญิงชาติพันธุ์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใต้นโยบายการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การวิเคราะห์สังคมและวัฒนธรรมจากจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดเสมียนนารี และการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งทุกประเด็นเป็นประเด็นทางสังคมที่ทันสมัย และควรแค่แก่การเผยแพร่สู่สังคมเป็นอย่างยิ่ง
ท้ายนี้ ขอประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักวิชาการ รวมทั้งผู้ที่สนใจที่จะเผยแพร่บทความได้ส่งผลงานเพื่อตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์วิชาการ เพื่อเป็นพื้นที่ทางวิชาการในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ยั่งยืนต่อไป
เผยแพร่แล้ว:
2022-06-29
ดูทุกฉบับ
Indexed in 