การศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับภูมิทัศน์วัฒนธรรม ในแหล่งท่องเที่ยววังหลัง กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ถิรพร แสงพิรุณ
จันทร์จิมา รัตนะประสิทธิ์
ดุษิต ศรีอินทร์
สุภาวดี รอดมา
ศศิพิมพ์ พวงทองทับ
ณัฐกุล กวางแก้ว
ชยธร คำเนตร
ศุระเดช ทิมกลับ
กาญจนาภรณ์ ตรีมณี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับภูมิทัศน์วัฒนธรรมในแหล่งท่องเที่ยววังหลัง และ 2) เพื่อหาแนวทางในการปรับภูมิทัศน์วัฒนธรรมในแหล่งท่องเที่ยววังหลัง โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ทฤษฎีเชิงพื้นที่ (Grounded theory) ในการศึกษา สังเกต และวิเคราะห์บริบทของพื้นที่ ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) กับนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการร้านค้าย่านวังหลัง ผลการวิจัยพบว่ามีความเป็นไปได้ในการปรับภูมิทัศน์วัฒนธรรมของแหล่งท่องเที่ยวย่านตลาดวังหลัง ให้เป็นระเบียบ เพื่อความสะดวก สะอาด และปลอดภัย ควรมีการจัดระเบียบร้านค้าภายในตลาดวังหลัง เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ โดยใช้วิธีการจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนซึ่งเป็นเจ้าของร้านค้าย่านวังหลัง มีการประสานงานและการทำงานร่วมกัน มีการวางแผนร่วมกันของชุมชน เพื่อร่วมมือกันในการสร้างความเป็นระเบียบ สวยงามและส่งเสริมการท่องเที่ยวในตลาดวังหลังต่อไป

Article Details

How to Cite
แสงพิรุณ ถ. ., รัตนะประสิทธิ์ จ. ., ศรีอินทร์ ด., รอดมา ส. ., พวงทองทับ ศ. ., กวางแก้ว ณ. ., คำเนตร ช. ., ทิมกลับ ศ. ., & ตรีมณี ก. . (2021). การศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับภูมิทัศน์วัฒนธรรม ในแหล่งท่องเที่ยววังหลัง กรุงเทพมหานคร. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 3(1), 38–53. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/256428
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2558). วัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงวัฒนธรรม.

เกรียงไกร เกิดศิริ. (2551). ชุมชนกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อุษาคเนย์.

จอมขวัญ ลอยศักดิวงศ์. (2550). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัด

ตาก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.สาขาวิชายุทธศาสตร์ การพัฒนา

จิตรตี มณีไสย์ และพัฒนา อนุรักษ์พงศธร. (2554). การวิเคราะห์ปริมาณและองค์ประกอบของขยะมูลฝอยเพื่อเป็นแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย จังหวัดสระบุรี. กรุงเทพมหานคร: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฎฐา จุลพรหม, อาษา ทองธรรมชาติ, อัจจิมา อินทรีย์. (2549). การศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ ปรับปรุง ฟื้นฟู ภูมิทัศน์วัฒนธรรม ชุมชนย่านวัดราชโอรส วัดนางนอง และวัดหนัง. กรุงเทพมหานคร: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, สำนักงานคณะกรรมกรวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และคณะ. (2542). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ไพบูลย์ แจ่มพงษ์. (2553). การจัดการขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน บริเวณตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพมหานคร: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

มณทิพย์ จันทร์แก้ว และขนิษฐา ภมรพล. (2560). การศึกษาการจัดการขยะมูลฝอย กรณีศึกษา ตลาดน้ำระแหง.

วารสารแก่นเกษตร, ฉบับพิเศษ 1, 405-410.

รัชนีกร แซ่วัง. (2558). ภูมิทัศน์วัฒนธรรมและนโยบายในการอนุรักษ์: กรณีศึกษา พุหางนาค. วารสารภาษาและ

วัฒนธรรม, 34(2), 71-92.

รัฐพงศ์ ปิ่นแก้ว และพัสตราภรณ์ ทิพยโสธร. (2557). การออกแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมปากคลองสวนหมากเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2563. จาก http://161.246.14.22/ocs/submissionfiles/conferences/4/schedConfs/4/papers/54/submission/review/54-102-1-RV.pdf

วิภาวี อนุพันธ์พิศิษฐ์, เสนีย์ สุวรรณดี, มณี พนิชการ, อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี และเสนีย์ เวชพัฒน์พงษ์. (2551). โครงการอนุรักษ์มรดกทางด้านสถาปัตยกรรมและปรับปรุงภูมิทัศน์ของชุมชน ในพื้นที่ริมฝั่งคลองแสนแสบ: กรณีศึกษาชุมชนบ้านครัว. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(1), 48-55.

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2542). รายงานขั้นสุดท้ายการดำเนินการกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.

สารานุกรมเสรี. (2563). ถนนวังหลัง. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2563. จากhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87

สุขสวรรค์ คำวงศ์ และเมตตา ตาละลักษณ์. (2556). ขีดความสามารถในการรองรับและการกำจัดขยะในแหล่งท่องเที่ยวตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับพิเศษ, การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5 ( น.91-97). กรุงเทพฯ.ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นทรัลเวิลด์ปทุมวัน.

สมัคร ถะเกิงกุล. (2546). สภาพปัญหาและแนวทางการจัดการท่องเที่ยว: ศึกษากรณีเกาะเสม็ด ตำบลเพ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2549). แนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม/ในความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

Holloway, J. C. (1983). The Business of Tourism. Plymouth: Macdonald and Evans Ltd.

Mill, R. C. (1990). Tourism the international business. New Jersey: Prentice Hall.

Murava, L & Korobeinykova, Y. (2016). The analysis of the waste problem in tourist destinations

on the example of Carpathian region in Ukraine. Journal of Ecological Engineering, 17(2),

-51.