ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการบริการของโรงแรม บนเกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด 2019
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวที่มีผลต่อการเลือกเข้าพักบริการโรงแรม บนเกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ในช่วงสถานการณ์โควิด-2019 และศึกษาระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการใช้บริการโรงแรม บนเกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ในช่วงสถานการณ์โควิด-2019 โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิจัยในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 20- 29 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพนักเรียน นักศึกษา รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่อาศัยในกรุงเทพมหานคร ได้รับวัคซีนครบแล้ว 2 เข็ม ชนิดวัคซีนที่ได้รับมากที่สุด คือ วัคซีน AstraZeneca ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว พบว่าโดยภาพรวมนักท่องเที่ยวมีระดับความพึงพอใจต่อการบริการของโรงแรมบนหมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจด้านกายภาพ สูงสุด รองลงมาคือ ด้านพนักงานบริการ ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านสถานที่ ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรมควบคุมโรค. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้น 1 ตุลาคม 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php
จันทิมา รักมั่นเจริญ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการที่พักประเภทโรงแรม และรีสอร์ทของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตพื้นที่เศรษฐกิจ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (การศึกษาค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี). สืบค้นจาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5702030684_3575_1995.pdf
จันทา ไชยะโวหาน. (2562). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อถ้ำนางแอ่น เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สปป ลาว (การศึกษาค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม). สืบค้นจาก http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Chantha.Xai.pdf
พลอยจันทร์ สุขคง. (2563). รู้จัก SHA ตราสัญลักษณ์ความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวยุคปกติใหม่. สืบค้น 5 ตุลาคม 2564, จาก https://thestandard.co/sha-new-security-sign-for-new-normal-tourism/
ชนพัฒน์ ช่วยครุฑ, อมรฤทัย ภูสนาม และ อรอนงค์ เดชมณี. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของเยาวชนไทยหลังยุคโควิด-2019. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(3), 187- 201.
วงศธร อรรถวิทยา. (2563). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนตอ่การเลือกใช้บริการพักโรงแรม5ดาว ในกรุงเทพมหานครในช่วงเกิดโรคระบาด COVID-19. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(1), 476-489
ศูนย์ข้อมูล COVID-19. (2564). สถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย. สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2563, จากhttps://www.facebook.com/informationcovid19
สมประวิณ มันประเสริฐ. (2563). ผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทย. สืบค้น 13 ตุลาคม 2564, จาก https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/economic-covid-impact
สำนักงานสถิติจังหวัดกระบี่. (2562). สถิตินักท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่. สืบค้น 13 ตุลาคม 2564, จากhttp://krabi.thailocallink.com/news_gis
สุวีร์ณัสญ์ โสภณศิริ. (2554). การวิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: อินทนิล.
สตรีรัตน์ จันทร์สรีม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจเลือกใช้บริการโรงแรมที่พักในประเทศไทยผ่านผู้ให้บริการจองโรงแรมที่พักออนไลน์. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ (JISB), 4 (1), 34-50.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Weick, K. E., & Roberts, K. H. (1993). Collective mind in organizations: Heedful interrelating on flight decks. Administrative Science Quarterly, 38(3), 357–381. https://doi.org/10.2307/2393372