ความพึงพอใจต่อเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารของชุมชนย่านเยาวราช กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารของชุมชนย่านเยาวราช กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือนักท่องเที่ยวชาวไทยในแหล่งท่องเที่ยวย่านเยาวราช จำนวน 100 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบการคัดเลือกโดยบังเอิญ สถิติที่ใช้ในคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวในย่านเยาวราช ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพโสด อายุระหว่าง 21–30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพนักเรียนนักศึกษา รายได้ต่อเดือน 5,001–10,000 บาท เคยมาเที่ยวที่เยาวราช 1–5 ครั้ง มีความประทับใจต่ออาหาร ต้องการชักชวนเพื่อน ๆ หรือ ครอบครัวมาเที่ยวที่เยาวราช และชวนเพราะอาหาร นอกจากนี้ยังพบว่า นักท่องเที่ยวมีระดับความพึงพอใจโดยรวมต่อเส้นทางท่องเที่ยวด้านอาหารย่านเยาวราช กรุงเทพมหานคร โดยรวมเท่ากับ 3.89 คิดเป็นระดับมาก โดยนักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจสูงสุดในด้านรสชาติของอาหารย่านเยาวราช เท่ากับ 4.37 คิดเป็นระดับมาก รองลงมาคือด้านพ่อค้าแม่ค้าร้านอาหารย่านเยาวราช เท่ากับ 4.09 คิดเป็นระดับมาก ส่วนหัวข้อที่นักท่องเที่ยวมีระดับความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ อาหารมีความน่ารับประทาน ถูกสุขอนามัย และความเหมาะสมของราคาอาหารย่านเยาวราช ที่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.37 คิดเป็นระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
จิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2540). เอกสารการสอนชุดวิชา จิตวิทยาบริการ หน่วยที่ 1-7. (พิมพ์ครั้งที่ 3) นนทบุรี: สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เจริญชัย เอกมาไพศาล, สิริพร เขตเจนการ และสุพัฒนา เตโชชลาลัย. (2563). การศึกษาการบริโภคอาหารริมทางในกรุงเทพมหานครและผลกระทบต่อทัศนคติและความตั้งใจแสดงพฤติกรรมของผู้บริโภค. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 42(1), 21-42.
ชาคริต อ่องทุน และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2559). ศักยภาพการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารริมทางบนถนนเยาวราช. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 6(1), 129–137.
ณฤดี ศิรฐานนท์. (2555). พฤติกรรมการรับประทานอาหารริมทางในย่านถนนเยาวราชของผู้บริโภควัยทำงานในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทศพร ลิ้มดําเนิน. (2560). แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารกรณีศึกษาคลองดําเนินสะดวก อําเภอดําเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เผด็จ มุนีวงษ์. (2562). ความคาดหวัง และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารริมทางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พิชชานันท์ ช่องรักษ์ และเจริญชัย เอกมาไพศาล. (2553). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของภาพลักษณ์อาหารริมทาง ทัศนคติต่อจุดหมายปลายทาง การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และ ความตั้งใจกลับมาจุดหมายปลายทางซ้ำของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษาย่านเยาวราช. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 9 (17), 1-20.
เอนก สุวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2550). จิตวิทยาบริการ. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.
Shea, G. (2016). Best 23 cities for street food from Miami to Tokyo. Retrieved September 19, 2563, from http://edition.cnn.com/travel/article/best-cities-street-food/index.html
Tiffin, J. & McCormick, E. J. (1965). Industrial Psychology. New Jersey: Prentice Hall.