แนวทางการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ปิ่นฤทัย คงทอง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของโลจิสติกส์ทางการท่องเที่ยวของจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เสนอแนวทางการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ประชาชน ผู้นำชุมชน บุคลากรภาครัฐ และผู้ประกอบการทางการท่องเที่ยว จำนวน 69 คน เลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือวิจัย ตรวจสอบเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการท่องเที่ยวและโลจิสติกส์ จำนวน 3 คน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า บริบทของโลจิสติกส์ทางการท่องเที่ยวของจังหวัดสุราษฎร์ธานีด้านการเคลื่อนที่ด้านกายภาพ ยังมีปัญหาด้านการเดินทาง โดยเฉพาะการจัดการรถสาธารณะ พบว่าสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งไม่มีรถสาธารณะบริการ ขาดมาตรฐานในการกำหนดราคาค่าบริการ สถานที่จอดรถยังขาดการจัดระเบียบ ห้องน้ำไม่เพียงพอและมีสภาพชำรุด ถังขยะไม่เพียงพอ ด้านการเคลื่อนที่ด้านข้อมูลข่าวสาร พบปัญหาเกี่ยวกับป้ายให้ข้อมูล ได้แก่ การขาดป้ายแนะนำสถานที่หรือข้อมูลการท่องเที่ยว ป้ายให้คำแนะนำเรื่องข้อควรปฏิบัติ ด้านการเคลื่อนที่ด้านการเงิน พบว่าสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีช่องทางในการชำระเงินของร้านค้าเป็นแบบออนไลน์ มีแค่ส่วนน้อยที่รับชำระเงินแบบเงินสด สำหรับแนวทางการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีข้อสรุปดังนี้ การเคลื่อนที่ด้านกายภาพ 1) ควรจัดการให้มีระบบขนส่งมวลชนที่มีมาตรฐานสามารถรองรับการท่องเที่ยวและการบริการรถสาธารณะไปยังแหล่งท่องเที่ยวได้โดยสะดวก 2) พัฒนาคุณภาพของระบบคมนาคมขนส่งให้ได้มาตรฐานในการบริการ 3) จัดห้องน้ำที่เพียงพอและปรับปรุงให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน 4) จัดให้มีถังขยะในจำนวนที่เพียงพอและแยกถังขยะอย่างถูกวิธี การเคลื่อนที่ด้านข้อมูลข่าวสาร 1) พัฒนาและปรับปรุงป้ายให้ข้อมูลให้มีความชัดเจนทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ การให้ข้อมูลสถานที่ในรูปแบบคิวอาร์โค้ด ป้ายให้คำแนะนำเรื่องข้อควรปฏิบัติในสถานที่ท่องเที่ยว การเคลื่อนที่ด้านการเงิน ควรเพิ่มช่องทางในการชำระเงินของนักท่องเที่ยวเพื่อรองรับสังคมไร้เงินสด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ปิ่นฤทัย คงทอง, คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

ดร.ปิ่นฤทัย คงทอง

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

31 ม.6 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

e-mail: Pinruthai.k@psu.ac.th

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). ตัวชี้วัดด้านการท่องเที่ยว : รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยและชาวต่างชาติ. สืบค้น 18 ตุลาคม 2561, จาก https://www.mots.go.th/news/category/440

ชนิศา มณีรัตนรุ่งโรจน์, พัชรี ทองคำ, กนกวรรณ มัติโก, พงศกร ไพรโต, พิชามญชุ์ ชูพุพซา, และ ศศิศรัณย์ ฉัตรคำภู. (2562). โลจิสติกส์การท่องเที่ยวที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. วารสารสหศาสตร์, 18(2), 184-209.

ทัศนีย์ ประธาน, คนึงนิจต์ หนูเช็ก, น้ำทิพย์ ตระกูลเมฆี, สุวัจนี เพชรรัตน์, พรทิพย์ เสี้ยมหาญ, และ จักรกฤษณ์ หมั่นวิชา. (2563). การบริหารจัดการโลจิสติกส์ท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุงสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 18(2), 220-240.

ปิ่นฤทัย คงทอง, และ วีรยา มีสวัสดิกุล. (2562). แนวทางการจัดการความปลอดภัยทางการท่องเที่ยวของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในฐานะจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(1), 403-414.

ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์. (2552). Tourism Supply Chains. สืบค้น 1 สิงหาคม 2561, จาก https://pairach.com/tsc/

ภาณุพงศ์ สามารถ. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืนสำหรับประชาชน อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 4(1), 1-12.

มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด, และ คมสัน สุริยะ. (2551). กรอบแนวคิดในการวิเคราะห์เรื่องโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยว.สืบค้น 1 ตุลาคม 2561, จาก http://www.tourismlogistics.com/index.php?option=comcontent&view=article&id=71:concept-tourism-logistics&catid=64:conceptual-framework&Itemid=54

วาสนา จรูญศรีโชติกำจร, สุภาภรณ์ หมั่นหา, การันต์ เจริญสุวรรณ, กนิษฐา ศรีภิรมย์, วรางค์ รามบุตร, และ ชลธิชา แสงงาม. (2560). ประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 10(2), 213-229.

สัญชัย ลั้งแท้กุล. (2561). ความพึงพอใจด้านการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในจังหวัดตรัง. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 18 และลำปางวิจัย ครั้งที่ 4 (น.1044-1058). ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย.สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2561, จาก http://www.thailandtourismcouncil.org/wp-content/uploads/2018/01/AW_TTCI_2017-04_20180105-single.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2561, จาก http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สำนักงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 -2579). สืบค้น 10 ตุลาคม 2561, จาก http://123.242.172.6/yuttasat/document/plan20y.pdf

อดิศัย วรรธนะภูติ, จันทนา แสนสุข, จันทิมา บุญอนันต์วงค์, และ อัจฉราพร โชตน์วรกาญจน์. (2563). การจัดการ โลจิสติกส์ เพื่อการท่องเที่ยวส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และความภักดีของนักท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 18(2), 15-29.

References

Lumsdon, L., & Page, S. (2004). Progress in Transport and Tourism Research: Reformulating the Transport-Tourism Interface and Future Research Agendas?. In Les Lumsdon and Stephan Page (Eds.), Tourism and Transport: Issues and Agenda for the New Millennium. London: Elsevier.