แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดนครนายกภายหลังสถานการณ์โควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดนครนายก 2) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของการท่องเที่ยวจังหวัดนครนายก และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดนครนายก ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากงานวิจัย บทความวิชาการ เอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยคำถามสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กับหัวหน้าส่วนงานภาครัฐ สมาคม ผู้ประกอบการ ภาคประชาสังคม และประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจังหวัดนครนายก ด้วยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 17 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนาแบบไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ทำให้สถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวสูญเสียโอกาสเชิงเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามจุดแข็งของจังหวัดนครนายกคือมีที่ตั้งอยู่ใกล้กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งมีแหล่งท่องเที่ยวมีความหลากหลาย ในขณะที่การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว และการประชาสัมพันธ์ยังเป็นจุดอ่อนที่สำคัญ นอกจากนี้การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้นักท่องเที่ยวไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและสุขภาวะ ซึ่งแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดนครนายก ภายหลังสถานการณ์ โควิด-19 พบว่าการพัฒนาการท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับจังหวัดนครนายกในอนาคต ประกอบด้วย 6 ปัจจัย ได้แก่ (1) การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (2) การสร้างความร่วมมือและส่งเสริมผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ให้ได้รับมาตรฐาน SHA หรือ SHA Plus (3) การส่งเสริมและการประชาสัมพันธ์ด้านการตลาด (4) การจัดทำโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว (5) การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสู่การเปลี่ยนแปลง และ (6) การเพิ่มมูลค่าของสินค้า การบริการ กิจกรรม และผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กมลชนก จันทร์เกตุ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: ชุมชนเกาะยอ จังหวัดสงขลา. (ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 – 2570). กรุงเทพฯ:กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กรุงเทพธุรกิจ. (2563). เศรษฐกิจโลกชะลอส่อฉุดท่องเที่ยวปี 63 โตต่ำ. สืบค้น 3 เมษายน 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/859269
จันทร์จิรา สุขบรรจง. (2559). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของหนานมดแดง อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณทิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.
ชวลีย์ ณ ถลาง. (2564). แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเกาะช้าง จังหวัดตราด. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(1): 25-37.
ทวีศักดิ์ นพเกษร. (2548). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เล่ม 1. นครราชสีมา: โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
ธงชัย สาโค. (2558). เมืองโบราณดงละคร. นนทบุรี: ไทภูมิพับลิชชิ่ง.
ปรัชญา บุญเดช. (2561). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวถ้ำเลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณทิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ภราเดช พยัฆวิเชียร. (2547). รายงานประเมินผลโครงการพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว.
รัศมี อ่อนปรีดา. (2559). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดราชบุรีและสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 6(1), 135-145.
วิภารัตน์ ธาราธีรภาพ. (2564). นโยบายและยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวและกีฬา [เอกสารประกอบการสอน]. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
สภาปฏิรูปแห่งชาติ. (2558). วาระพัฒนาที่ 1 : การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.
สำนักงานจังหวัดนครนายก. (2551). แผนพัฒนาจังหวัดนครนายก (พ.ศ. 2566 – 2570). สืบค้น 12 มีนาคม 2565,
จาก https://ww2.nakhonnayok.go.th/files/com_news_devpro/2022-01_776456aea9fb46c.pdf
อระนุช โกศล, และ โชคชัย สุทธาเวศ. (2555). การจัดการด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารการเมืองการปกครอง, 4(1): 220-232.