แนวทางการพัฒนาศักยภาพกลุ่มการจัดการท่องเที่ยวภูหมากเค็ง ตำบลหนองคัน อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทกลุ่มการจัดการการท่องเที่ยวภูหมากเค็ง และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนากลุ่มการจัดการท่องเที่ยวภูหมากเค็ง ตำบลหนองคัน อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ สมาชิกกลุ่มการจัดการท่องเที่ยว ปราชญ์ท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลหนองคัน จำนวน 22 คน ใช้การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการศึกษาเอกสารเป็นเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มการจัดการท่องเที่ยวภูหมากเค็ง รวมกลุ่มกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 มีเป้าหมายเพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน จุดแข็งคือ ผู้นำเสียสละและมีการใช้สื่อวิทยุชุมชนเป็นเครื่องมือพัฒนากลุ่ม มีการเชื่อมโยงกับกลุ่มการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหนองบัว ด้วยสถานการณ์โควิด 19 ทำให้สมาชิกแยกย้ายกันไป กลุ่มยังไม่มีการจัดตั้งและวางกฎระเบียบเงื่อนไข ยังไม่มีงบประมาณสนับสนุน 2) แนวทางการพัฒนากลุ่มการจัดการท่องเที่ยวภูหมากเค็งมีดังนี้ (1) ด้านหน่วยงานภาครัฐ ต้องกำหนดนโยบายและกิจกรรมการพัฒนากลุ่มที่เป็นรูปธรรม (2) ด้านการบริหารจัดการ ต้องกำหนดบทบาทของสมาชิกและกฎระเบียบที่ชัดเจน (3) ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวต้องวางแผนกิจกรรมการท่องเที่ยว (4) ด้านงบประมาณ ต้องมีการระดมทุน (5) ด้านผู้นำการท่องเที่ยว ต้องอบรมและพัฒนาผู้สื่อสารการท่องเที่ยว (6) ด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์ ต้องสร้างสื่อสังคมออนไลน์หลากหลายรูปแบบ และ (7) ด้านการสร้างเครือข่าย ต้องสร้างความร่วมมือและแสวงหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
เอกสารอ้างอิง
กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย. (2561). การศึกษาศักยภาพและสร้างรูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนและมัคคุเทศก์ท้องถิ่นการท่องเที่ยวชุมชนเทศบาลตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(28), 85-97.
จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด, อังสุมาลิน จำนงชอบ, และ ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2562). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์โดยชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง ตำบลศรีนาวา จังหวัด นครนายก. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 5(1), 1-18.
ชนิธิกาญจน์ จีนใจตรง, วรากุล ตันทนะเทวินทร์, และ วราพรรณ ผลโพธิ์. (2561). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและปรับปรุงภูมิทัศน์ภูป่าเปาะ จังหวัดเลย. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล, 26(1), 74-91.
ณศิริ ศิริพริมา, และ ศรีจิตรา นวรัตนาภรณ์. (2562). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ณัฐกานต์ รุ่งเรือง, และ ลินจง โพชารี. (2559). องค์ประกอบของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ส่งผลต่อแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอ่างวังแข้และภูฆ้องคำ ตำบลแก่งเค็ง อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(2), 195-213.
ไทยโรจน์ พวงมณี, คชสีห์ เจริญสุข, ณศิริ ศิริพริมา, และ มาริษา ภิรมย์แทน เดอ เบลส์. (2565). กระบวนการใช้ศิลปะและวัฒนธรรมในการขับเคลื่อนการจัดการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหนองบัวตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านการบินการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการ ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมบริษัท ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัด (TFT).
ไทยโรจน์ พวงมณี, พายุ แฝงทรัพย์, และ คชสีห์ เจริญสุข. (2561). แนวทางการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวภูฆ้องแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลปากชม อำเภอปากชม จังหวัดเลย. ใน การประชุมทางวิชาการระดับชาติ พะเยาวิจัยครั้งที่ 7. มหาวิทยาลัยพะเยา.
นิสากร ยินดีจันทร์, ภูริพัฒน์ แก้วตาธนวัฒนา, และ สันดุสิทธิ์ บริวงษ์ตระกูล. (2560). การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจันทบุรี. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
นิสากร ยินดีจันทร์, ภูริพัฒน์ แก้วตาธนวัฒนา, และ สันดุสิทธิ์ บริวงษ์ตระกูล. (2564). การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกรณีศึกษา เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจันทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 11(1), 28-260.
ปฐม หงส์สุวรรณ. (2560). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประวัติศาสตร์ พิธีกรรม ความเชื่อและวิถีชีวิตชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง. ใน การประชุมวิชาการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน.
ปาริฉัตร สิงห์ศักดิ์ตระกูล, และ พัชรินทร์ เสริมการดี. (2556). การศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนบ้านทุ่งมะปรัง อำเภอควนโดน และบ้านโตนปาหนัน อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล. วารสารสุทธิปริทัศน์, 27(83), 97-112.
พิพัฒน์ สุวรรณชาติ. (2552). การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสวนรุกชาติภูแปก: กรณีศึกษาบ้านนาลานข้าว ตำบลโพนสูง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณทิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, เลย.
พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์. (2556). การท่องเที่ยวชุมชน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ไพริน เวชธัญญะกุล. (2563). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2(1), 50-63.
มาลินี ศรีไมตรี. (2559). การพัฒนารูปแบบและศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ของท้องถิ่นสู่นักท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 11(2), 53-65.
รัชฎาภรณ์ ทองแป้น. (2562). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวชุมชนต้นแบบ จังหวัดลำปาง. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 7(2), 46-57.
วนิดา อ่อนละมัย. (2563). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ ชุมชนบ้านสาวะถี จังหวัดขอนแก่น. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2(1), 74-83.
สุบัน พรเวียง, สมชาย อังสุโชติเมธ, สัญญา ม่วงราช, อัชรี กุลบุตร, ปภาดา สอนสิงห์, และ ประจบ ขวัญมั่น. (2561). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของชาวกะเหรี่ยงบ้านวุ้งกะสัง จังหวัดกำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.
หทัยรัตน์ สวัสดี. (2563). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนชุมชนบ้านท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2(1), 64-73.
อัจฉราวรรณ เพ็ญวันศุกร์. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนบางตะบูนและชุมชนบ้านแหลม อําเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 4(1), 97-114.
อัญชลี ศรีเกตุ. (2565). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่วิถีที่ยั่งยืน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 270-279.
อาภาพร บุญประสพ, ศิวาพร พยัคฆนันท์, พัชราภรณ์ เกลียวแก้ว, ธราธร ภูพันเชือก, ดารณี สุรินทรเสนี, อารีรัตน์ สมานดุษณี, และ ปีย์วรา พานิชวิทิตกุล. (2564). การพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนเพื่อส่งเสริมระบบการจัดการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของท้องถิ่น จังหวัดสุรินทร์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(3), 15-30.