การพัฒนารูปแบบการสร้างนักเล่าเรื่องและสื่อความหมาย เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก

Main Article Content

นรินทร์ สังข์รักษา
สวรรยา ธรรมอภิพล
วรรณวีร์ บุญคุ้ม
อัจฉราวรรณ เพ็ญวันศุกร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพของพื้นที่ที่มีความพร้อมในการสร้างนักเล่าเรื่องและสื่อความหมาย 2) ศึกษารูปแบบ หลักสูตร คู่มือการสร้างนักเล่าเรื่องและสื่อความหมาย และ 3) ทดลองและประเมินรูปแบบการสร้างนักเล่าเรื่องและสื่อความหมาย กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ประกอบการท่องเที่ยว หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จำนวน 60 คน ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม แบบประเมินความพึงพอใจ ทดลอง4 จังหวัดๆละ 1 ชุมชนตามเกณฑ์ที่กำหนด รวม 127 คน การรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง และการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์อุปนัย ผลการวิจัยพบว่า (1) พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตกมีความหลากหลายในการท่องเที่ยว ทั้งการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและการท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น และกำหนดเกณฑ์การเลือกพื้นที่ที่กำหนด 4 จังหวัดๆละ 1พื้นที่เพื่อให้ครอบคลุม ได้แหล่งท่องเที่ยวที่ศึกษาในการสร้างนักเล่าเรื่อง  2) จัดทำหลักสูตร คู่มือการอบรม และได้รูปแบบการสร้างนักเล่าเรื่อง เรียกว่า SEKUNA Model ประกอบด้วย 1) Self-developing-S (การพัฒนาตนเอง) 2) Effort - E (ความอุตสาหะ) 2) Driving  Forces-D (แรงขับ/พลังภายใน) 3) Knowledge Inquiry for Experience -K (การแสวงหาความรู้จากประสบการณ์)  4) Universal-U (ความเป็นสากล) 5)  Networking-N (เครือข่ายวิชาการ  6) Attraction -A (แหล่งท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์) ที่ผ่านการรับรองแล้ว และ (3)  ผลการทดลอง  พบว่า คะแนนก่อนการทดลองและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในการอบรมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.(2560). แผนแม่บทการพัฒนาเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตก พ.ศ. 2560- 2564. กรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562).รายงานสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวปี 2562. กรุงเทพฯ : กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2562). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 พ.ศ.2565-2569. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ดาราวรรณ ญาณะนันท์ และคณะ. (2564). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนาเรื่องราว สร้างเนื้อหา สื่อดิจิทัล กิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวและคุณภาพบริการเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก. กรุงเทพฯ: หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

ธำรง บัวศรี. (2542 ). ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบและพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.

นภาภรณ์ หะวานนท์. (2552). “วิธีการศึกษาเรื่องเล่า : จุดเปลี่ยนของการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์”.วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พ.ค.- ส.ค. 2552). ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หน้า 31-39.

นรินทร์ สังข์รักษา. (2552). การจัดการความรู้กับภูมิปัญญา .เอกสารประกอบการสอนวิชา 264504, นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นรินทร์ สังข์รักษา. (2559). ตำราการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นรินทร์ สังข์รักษาและคณะ. (2561). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการค้นหาและสร้างมูลค่าเพิ่มจากอัตลักษณ์เรื่องราว เรื่องเล่าของชุมชน. กรุงเทพฯ : กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

นรินทร์ สังข์รักษาและคณะ. (2561). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ รูปแบบความหลากหลายของการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แม่น้ำแม่ กลองเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มศักยภาพสูง. นครปฐม : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิจิตรา ธงพานิช. (2556). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎี หลักการ แนวคิด ทิศทาง แนวโน้ม. พิมพ์ครั้งที่ 5. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

สุชา จันทร์เอม. (2544). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Cambell C. (2010). Creative Tourism Providing a Competitive Edge. Tourism Insight. Retrieved June 12, 2022, from www.insights.org.uk/a.

Megginson D. & Pedler M. (1992). Self-development a facilitator’s guide. London: McGraw- Hill.

World Tourism Organization and European Travel Commission. (2009). Handbook on Tourism Destination Branding. Madrid,Spain: The World Tourism Organization

Richards, G. and Raymond, C. (2000). Creative Tourism. ATUAS News.no23 : 16-30.

Taba , H. (1962). Curriculum development : Theory and practice . New York : Harcourt Brace and World.