กลไกการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของบ้านป่าเหมี้ยง อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

Main Article Content

พอใจ สิงหเนตร
นริดา อินนาค
สมศักดิ์ คงทอง
พีระรักษ์ พิชญกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวของบ้านป่าเหมี้ยง อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 2) เพื่อวิเคราะห์กลไกการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของบ้านป่าเหมี้ยง อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ 1) ผู้นำชุมชน 2) ผู้ประกอบการอาชีพต่างๆในชุมชน และ 3)ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่าศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวของบ้านป่าเหมี้ยงในภาพรวม คือ 1) ศักยภาพของพื้นที่ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรการท่องเที่ยว/สิ่งดึงดูดใจ 2) อัตลักษณ์และวิถีชุมชน 3) ผู้นำชุมชน 4) ผลิตภัณฑ์ชุมชน 4) การมีส่วนร่วม 5) การบริหารจัดการ 6) สิ่งอำนวยความสะดวก 7) ความสามารถในการเข้าถึง โดยรถยนต์ส่วนตัว/จ้างเหมา 8) ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว และ 9) ด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว โดยมีกลไกการจัดการการท่องเที่ยวเป็นต้นแบบ ด้วยคำว่า “TEA” ได้แก่ 1) Tourism 2) Eco – system 3) Authenticity

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.(2564). รายงานประจำปี 2564. ค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2564, จาก https://api.tat.or.th/upload/live/about_tat/8925/รายงานประจำปี.2564.pdf

จรัญญา บันเทิง.(2548).การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชนบท.กรุงเทพฯ: โอ เอ พริ้นติ้ง การพิมพ์

ชุติกาญจน์ กันทะอู.(2560).การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นฐาน: กรณีศึกษาบ้านร่องฟอง ตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย).

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์.(2560).การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน.วิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 13(2), 25 - 46.

ดรรชนี เอมพันธุ์. (2550). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนและการจัดกิจกรรมโฮมสเตย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นายรอบรู้. (2561). Slow Life บ้านป่าเหมี้ยง ลำปาง. ค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2563, จาก https://www.nairobroo.com/travel/

พจนา สวนศรี และสมภพ ยี่จอหอ. (2556). คู่มือมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

พัฒนาการชุมชน จังหวัดลำปาง 3. (2564). เอกสารหมู่บ้านเพื่อการท่องเที่ยว (OTOP นวัตวิถี จังหวัดลำปาง). ลำปาง: สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดลำปาง.

ไพรินทร์ เตชะรินทร์.(2527).นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การพัฒนาในปัจจุบันในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

วนิดา แหลมหลัก.(2553).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมของพนักงานบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จํากัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสําหรับผู้บริหาร. มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

วีระพล ทองมา.(2559). การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism : CBT) สำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนในเขตที่ดินป่าไม้. ค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2563, จาก www.dnp.go.th/fca16/file/i49xy4ghqzsh3j1.doc

สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน.(2564). OTOP นวัตวิถี คืออะไร. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

ห้าวหาญ ทวีเส้ง, ปานแพร เชาวน์ประยูร และคณะ.(2563). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จังหวัดสตูล. การบริการและการท่องเที่ยวไทย.15(1), 1-15.

อภิสรา กวางคีรี และคณะ.(2561). การวิเคราะห์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านไร่กองขิง จังหวัดเชียงใหม่ ตามเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย.การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTTC Academic Day ครั้งที่ 2. 1112 – 1128.

Dickman, S. (1996).Tourism: An Introductory Text. Sydney: Hodder Education.