แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยวพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยวพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) ศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยวพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม การตรวจสอบเครื่องมือด้วยการทดสอบความถูกต้องของเนื้อหา (Content Validity) และการทดสอบความน่าเชื่อถือ (Reliability Test) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยวพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้านปัจจัยผลักโดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้เมื่อวิเคราะห์เป็นรายปัจจัยย่อย พบว่า ความต้องการท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจมีระดับแรงจูงใจมากที่สุด ( = 4.645, SD.= 0.5915) รองลงมา คือ ต้องการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ (=4.540, SD.= 0.7033) ส่วนแรงจูงใจด้านปัจจัยดึงดูดโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เป็นรายปัจจัยย่อย พบว่า ความสวยงามของสถานที่มีระดับแรงจูงใจมากที่สุด ( = 4.410, SD.= 0.6504) รองลงมา คือ ความเป็นมิตรของบุคคลในท้องถิ่น (= 4.347, SD. = 0.6949) ผลการศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยวพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า เพศส่งผลต่อปัจจัยผลักแต่ไม่ส่งผลต่อปัจจัยดึงดูด รายได้ต่อเดือนส่งผลต่อปัจจัยผลักและปัจจัยดึงดูด อย่างไรก็ตาม อายุ สถานะ การศึกษา และอาชีพไม่ส่งผลต่อต่อแรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยวพรหมโลกทั้งปัจจัยผลักและปัจจัยดึงดูดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
เกศินี โพธิ์เพชร สุพิศ ฤทธิ์แก้ว และสมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2563). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในแหล่งท่องเที่ยวขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 37(2), 110-136.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิติรายได้จากนักท่องเที่ยวปี 2562-2563. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://mots.go.th/more_news_new.php?cid=592.
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2550). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ณัฏฐพงษ์ ฉายแสงประทีป และจรินทร์ ฟักประไพ. (2564). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 22(3),190-204.
ธรรญชนก เพชรานนท์. (2559). แรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตพื้นที่การค้าชายแดน จังหวัดเชียงราย. สุทธิปริทัศน์, 30(94), 42-59.
ปิ่นฤทัย คงทอง ร่งโรจน์ เย็นชัยพฤกษ์ และวีรยา มีสวัสดิกุล. (2561). ศักยภาพทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ในมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(2), 249-272.
ปิ่นฤทัย คงทอง. (2565). แนวทางการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 1(2), 1-21.
ปุญญิศา คีรีเพชร. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยดึงดูดที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวชาวจีน ในการตัดสินใจเลือกมาท่องเที่ยวในเกาะสมุย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สุราษฎร์ธานี.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. (2562). ชุมชนพรหมโลก. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://aothai.org/listing/phrom-lok-community/
มานน เซียวประจวบ และ นิษา ศักดิ์ชูวงษ์. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้ปัจจัยดึงดูดที่กําหนดแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของวนอุทยานแห่งชาตภูฝอยลม จังหวัดอุดรธานี. วารสารราชภัฎร้อยเอ็ด, 13(3), 170-183.
วิภาดา เถาธรรมพิทักษ์ สิปปวิชญ์ วงศ์สุวัฒน์ และ ศิริกัญญา ทองเส้ง. (2565). แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาย่านเมืองเก่าสงขลา จังหวัดสงขลา. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 17(2), 56-68.
สุวิชชา ศรีถาน และปรีดา ไชยา. (2560). การรับรู้และแรงจูงใจการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวไทยในช่วงวันหยุดพักผ่อน ที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารช่อพะยอม, 28(2), 296-304.
สมชาย ไชยมูลวงศ์ สายสกุล ฟองมูล นคเรศ รังควัต และพหล ศักดิ์คะทัศน์. (2563). วารสารวิจัยและส่งเสรมวิชาการเกษตร, 37(3), 71-78.
สำนักงานการคลังจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2563). กระแสจำนวนนักท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.cgd.go.th/cs/nrt/nrt
Cochran, W. G. (1953). Sampling Techiques. New York : John Wiley & Sons. Inc.
Likert, R. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.
Pearce, P. L. (1993). Fundamentals of Tourist Motivation. In Tourism Research: Critiques and Challenges, D. Pearce, R. Butler, eds., 113-134. London: Routledge.
Pereira, G. D. A., & Gosling, M. (2019). Push and pull motivations of Brazilian travel lovers. BBR. Brazilian Business Review, 16(1), 63-86.