การพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวของชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยชุมชนบ้านพองหนีบ (ชทพ.) ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย

Main Article Content

ไทยโรจน์ พวงมณี
ณศิริ ศิริพริมา
คชสีห์ เจริญสุข

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการจัดการท่องเที่ยวบ้านพองหนีบ ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย และ 2) ศึกษาผลการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวของชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านพองหนีบ ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้เก็บข้อมูลมีดังนี้ กลุ่มการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ปราชญ์ท้องถิ่น สำนักงานองค์กรพัฒนาพิเศษเพื่อการท่องเที่ยว (อพท) ผู้ประกอบการท่องเที่ยว สื่อมวลชน นักวิชาการท่องเที่ยว สมาคมการท่องเที่ยว เครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวจำนวน 31 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม การประชุมและแบบประเมินผลเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือเชิงคุณภาพตรวจสอบหาค่าความเหมาะสมของประเด็นคำถาม ส่วนแบบประเมินหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) บ้านพองหนีบมีการจัดการท่องเที่ยวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ระยะแรกเริ่มต้นด้วยตนเอง ต่อมามีภาครัฐและสถาบันการศึกษาเข้าไปสนับสนุนการจัดการท่องเที่ยว จุดแข็งของหมู่บ้านคือการอยู่ตามแนวอุทยานแห่งชาติภูกระดึง มีธรรมชาติ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับการอนุรักษ์ป่าและการพัฒนาโฮมสเตย์ กลุ่มต้องการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวของกลุ่ม และ 2) ผลการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านพองหนีบพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกคือ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ด้านองค์กรชุมชน และด้านการจัดการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

ชัยณรงค์ ศรีรักษ์. (2565). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานมรดกภูมิปัญญาชุมชนบ้านโนนทัน จังหวัด

หนองบัวลำภู. วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 18(1), 86-111.

ณศิริ ศิริพริมา, ศรีจิตรา นวรัตนาภรณ์ และ ไทยโรจน์ พวงมณี. (2561). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตและ

วัฒนธรรมของบ้านพองหนีบ อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย. เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติพื้นถิ่นโขงชีมูล ราชภัฏอุดรธานี ครั้งที่ 2 ถอดรื้อพรมแดนความรู้ “ความท้าทายของสหวิทยาการในการพัฒนาท้องถิ่นโขงชีมูล. ศูนย์การเรียนรู้พุทธศิลป์ถิ่นอีสาน สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ไทยโรจน์ พวงมณี, คชสีห์ เจริญสุข, พชรมณ ใจงามดี และ ณศิริ ศิริพริมา. (2565). แนวทางการพัฒนาศักยภาพกลุ่ม

การจัดการท่องเที่ยวภูหมากเค็ง ตำบลหนองคัน อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 4(2), 56-77.

นิสากร ยินดีจันทร์, ภูริพัฒน์ แก้วตาธนวัฒนา และ สันดุสิทธิ์ บริวงษ์ตระกูล. (2564). การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการ

จัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกรณีศึกษา เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจันทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 11(1), 248-260.

บูชิตา สังข์แก้ว, พันธรักษ์ ผูกพันธุ์ และ อัญชลี รัตนะ. (2564). การพัฒนาตัวแบบการจัดการป่าอย่างยั่งยืนโดยการมี

ส่วนร่วมของชุมชนในเขตอุทยานแห่งชาติกรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติแม่ยม อำเภอสอง จังหวัดแพร่. วารสารพัฒนาสังคม, 23(1), 2-29.

ประคอง มาโต. (2562). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้เชิงภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวในพื้นที่มรดกโลกห้วยขาแข้ง. วารสารวิจย

วิชาการ, 2(2), 89-106.

ประยูร ดาศรี และ กนกกาญจน์ แก้วนุช. (2561). การสำรวจมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตอุทยาน

แห่งชาติปางสีดา จังหวัดสระแก้ว. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 13(1), 36-49.

ปริวรรต สมนึก. (2555). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านภูกับการอนุรักษ์วัฒนธรรม. วารสารศิลปศาสตร์, 8(1),

-36.

ปิ่นฤทัย คงทอง. (2565). แนวทางการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเพื่อการ

พัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 4(2), 1-21.

ปิยาพร อภิสุนทรางกูร, ไทยโรจน์ พวงมณี และ อิสริยาภรณ์ ชัยกุหลาบ. (2561). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวชุมชน

ชาติพันธุ์ม้งบ้านตูบค้อ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. วารสารบริหารจัดการ, 8(2), 15-28.

ปุณยวีร์ วิเศษสุนทรสกุล, ชวลีย์ ณ ถลาง, ชมพูนุช จิตติถาวร และ สหนนท์ ตั้งเบญจศิริกุล. (2563). การพัฒนา

ศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(34), 31-45)

พยุงพร ศรีจันทวงษ์, อริญชัย หามณี และ พรหมพงษ์ มหพรพรหม. (2563). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิง

นิเวศวัฒนธรรมภูเตาโปงบ้านบุ่งกุ่ม ตำบลนาหอ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 15(51), 33-43.

พอใจ สิงหเนตร, นริดา อินนาค, และ พีระรักษ์ พิทยกุล. (2566). กลไกลการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของบ้าน

ป้าเมี้ยง อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 5(1), 71-92.

ไพริน เวชธัญญะกุล. (2563). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่

ความยั่งยืน, 2(1), 50-63.

มนรัตน์ ใจเอื้อ และ ถิรพร แสงพิรุณ. (2562). การจัดการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์: การท่องเที่ยวบนพื้นฐาน

การมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 1(2), 35-50.

วนิดา อ่อนละมัย. (2563). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบชุมชนบ้านสาวะถี จังหวัดขอนแก่น.

วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2(1), 74-83.

วรรณวิษา วรฤทธินภา. (2555). การศึกษาปัญหาและกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร กรณีศึกษา บริษัท This Work จํากัด.

(การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพมหานคร.

วิษณุ พนาสิทธิ์ และ รัตพงษ์ สอนสุภาพ. (2564). แนวทางการพัฒนาวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนให้เป็นแหล่ง

ท่องเที่ยวหลังเหตุการณ์ช่วยเหลือทีมหมูป่าอคาเดมี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 191-199.

ศุภลักษณ์ พงษ์พุก และ โชติ บดีรัฐ. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืนโดยชุมชนกรณีศึกษา

บ้านรักไทย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 12(1), 143-152.

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2565). อพท.5 จัดกิจกรรม "ทดลองเที่ยว" เพื่อการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดย

ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม บ้านพองหนีบ อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย. สืบค้นจาก https://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/TCATG220809103404867

สิทธิชัย สวัสดิ์แสน และ ปริญญา นาคปฐม. (2565). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดนครนายก

ภายหลังสถานการณ์โควิด-19. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 4(2), 38-55.

หทัยรัตน์ สวัสดี. (2563). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนชุมชน

บ้านท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2(1), 64-73)

อัญชลี ศรีเกตุ. (2565). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่วิถีที่ยั่งยืน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์

และสังคมศาสตร์, 8(2), 270-279.

เอกสารอ้างอิง (ภาษาอังกฤษ)

Joppe M., (2015). Sustainable Community Tourism Revisited. Tourism Management, 17(7), 475-479.

Simmons, G. D. (1994). Community participation in tourism planning. Tourism Management, 15(2),

-108.