รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียง บ้านวังหิน ตำบลทุ่งสัง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

วิรัตน์ ทองแก้ว
กมลทิพย์ จันทร์หอม
นิภา ลายไทย
รัศมีธรรม หมายประสงค์พุฒิ
อรวรรณ ภูจอมเงิน
จารุมนต์ เกิดพิพัฒน์
นินท์รพัทธ พรหมฤทธิ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์เรียนรู้วิถี พอเพียงบ้านวังหิน ตำบลทุ่งสัง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียงบ้านวังหิน ตำบลทุ่งสัง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือผู้นำชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสมาชิกศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียงบ้านวังหิน จำนวน 20 คน มีวิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบลูกโซ่ และแบบเจาะจง ใช้เครื่องมือวิจัยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสำรวจเชิงพื้นที่ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสำรวจเชิงพื้นที่ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา 2) ศึกษาและเสนอแนะรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียงบ้านวังหิน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือผู้นำชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสมาชิกศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียงบ้านวังหิน จำนวน 12 คน มีวิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง ใช้เครื่องมือวิจัย คือข้อคำถามการสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มย่อย โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาผลการวิจัย พบว่าศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียงบ้านวังหิน มีทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงเกษตร คือการทำนาไร่ และนาปรัง เกษตรผสมผสาน การเลี้ยงไก่พื้นเมือง การเลี้ยงผึ้ง การเลี้ยงไส้เดือน การเลี้ยงปลาดุก ข้าวยำคำเดียว ผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง ผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าและปลาดุกแดดเดียว เชื้อราไตรโคเดอมา เครื่องผสมดินปลูก และมีรูปแบบกิจกรรม ได้แก่ ฐานเลี้ยงผึ้งโพรงไทย และฐานปุ๋ยมูลไส้เดือน กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียงบ้านวังหินที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 กิจกรรม คือ กิจกรรมรากดิน กิจกรรมดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ กิจกรรมสลัดโรลร้า และ กิจกรรม Walk Rally วิถีเกษตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2552). คู่มือการประเมินแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

ขวัญข้าว พูลเพิ่ม, ชัยมงคล โฆษิตสุริยะพันธุ์, และ พิชญาพร ศรีบุญเรือง. (2564). การศึกษาแรงจูงใจเพื่อพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร (สวนผลไม้) จังหวัดระยอง. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปี พ.ศ. 2564. Reshaping Thailand Tourism and Service through New Paradigm.

เทพกร ณ สงขลา. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการใช้ทรัพยากรเกษตรของชุมชนชน: กรณีศึกษาท่องเที่ยวเชิงเกษตรช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์, 6(2), 1-12.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2557). การท่องเที่ยวเชิงเกษตรสุราษฎร์ธานี: การวิจัยฐานทรัพยากรเกษตรสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 54(3), 202-220.

เบญจมาศ เมืองเกษม, และ จามรี พระสุนิล. (2564). การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ของศูนย์การเรียนรู้เชียงแสนมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 239-252.

ปวิธ ตันสกุล. (2563) ศึกษาเรื่องแนวทางการส่งเสริมอาหารพื้นถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหาร กรณีศึกษาชุมชนขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. Journal of Management Walailak University, 9(1), 81-92

พนิดา รัตนสุภา, จรีพร เชื้อเจ็ดตน, ปิยวรรณ เสรีพงศ์, ธนัชชา สุริยวงศ์, เย็นจิต นาคพุ่ม, เจษฎา ร่มเย็น, และ เสาวลักษณ์ บุญรอด. (2559). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาการจัดการ, 33(2), 19-42.

สมชาติ กิจยรรยง. (2545). เทคนิคการเป็นวิทยากรฝึกอบรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มัลติอินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี.

สำนักงานเทศบาลตำบลทุ่งสัง. (2564). ข้อมูลพื้นฐานของตำบลทุ่งสัง. สืบค้นจาก http://www.thungsung.go.th/

สุดารัตน์ สุวรรณกูฏฺ. (2559). การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างสร้างสรรค์ ชุมชนบ้านนาเยีย ตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์, ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

สุภัทรา สังข์ทอง, กัญญาพัชร์ พัฒนาโภคินสกุล, และ วิภาวี คามวุฒิ. (2564). การศึกษากิจกรรมเพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ตำบลเขาคราม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 17(1), 24-46

เอกสารอ้างอิง (ภาษาอังกฤษ)

Cooper, C., & Boniface, B. G. (1998). Geography of travel and tourism. UK: Butterworth Heinemann.

Dickman, C.R. (1996). Overview of the Impacts of Feral Cats on Australian Native Fauna. Canberra; Australian Nature Conservation Agency.

Esichaikul, R. (2013). Agro-tourism Management concept. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat.

Rossman, J. R., & Schlatter, B. E. (2015). Recreation programming: designing and staging leisure experiences. Seventh edition. Urbana, IL: Sagamore Publishing.