การเชื่อมโยงการขนส่งนักท่องเที่ยวระยะทางสุดท้ายระหว่าง สนามบินนานาชาติภูเก็ตและโรงแรมในภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การขนส่งในระยะทางสุดท้ายสำหรับนักท่องเที่ยวจากสนามบินนานาชาติภูเก็ตไปยังโรงแรม มีความสำคัญต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางในการเชื่อมต่อระยะสุดท้ายระหว่างสนามบินนานาชาติภูเก็ตไปยังโรงแรม 2) ศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้รถร่วมกันในการเดินทางด้วยเงื่อนไขด้านระยะทาง เวลา และค่าใช้จ่าย และ 3) เสนอแนวคิดการนำหลักการเดินทางด้วยรถร่วมกันเพื่อปรับปรุงบริการการเชื่อมต่อระยะสุดท้าย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ โดยใช้ข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งแบบละติจูด (Latitude และลองจิจูด (Longitude) ราคาค่าที่พัก และยอดการรีวิวของโรงแรม ที่พัก ที่เก็บรวบรวมจากเว็บไซต์จองที่พัก และดึงข้อมูลแบบออนไลน์ด้วยชุดคำสั่ง Instant Data Scraper เพื่อทำการวิเคราะห์แก้ปัญหาการจัดเส้นทางขนส่งโดยวิธีแบบประหยัด ด้วยโปรแกรม VRP Spreadsheet Solver ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการแบ่งรถตู้โดยสารควรแบ่งออกเป็นสองคันต่อรอบเพื่อปฏิบัติตามข้อจำกัดด้านเวลาในการขับขี่ และควบคุมระยะเวลาการเดินทางที่เหมาะสมเพื่อความพึงพอใจและปลอดภัย 2) ผลจากการจัดเส้นทางด้วยหลักการแบบประหยัดตามเงื่อนไขด้านระยะทาง และเวลาที่กำหนด ช่วยลดระยะเดินทางรวมได้ร้อยละ 77.80 ซึ่งแสดงถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพที่สำคัญ 3) ผลด้านต้นทุนขนส่ง การโดยสารรถร่วมกันนั้นมีความคุ้มค่ากว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการเดินทางคนเดียว โดยกรณีที่นักท่องเที่ยวแยกกันเดินทาง 10 ราย จะมีค่าขนส่งเฉลี่ย 4,376.41 บาทต่อรอบการเดินทาง หากใช้รถร่วมกัน 1 คัน มีต้นทุนขนส่งเฉลี่ย 613.43 บาทต่อรอบการเดินทาง และหากใช้รถร่วมเดินทาง 2 คัน จะมีต้นทุนเฉลี่ย 1,060.72 บาทต่อรอบการเดินทาง ผู้เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการขนส่งในระยะทางสุดท้ายสำหรับนักท่องเที่ยวจากศูนย์กลางสถานีขนส่งไปยังโรงแรมได้ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
เอกสารอ้างอิง
กรมการขนส่งทางบก. (2560). กรมการขนส่งทางบก แนะ!! กรณีเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวหรือการเดินทางเป็นหมู่คณะให้เลือกใช้รถเช่าเหมาที่มีคุณภาพ มาตรฐานและปลอดภัย ตรวจสอบสัญญาก่อนการว่าจ้าง และเลือกใช้ประเภทรถให้เหมาะสม. สืบค้นจาก https://www.dlt.go.th/th/public-news/1666
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถิติจำนวนนักท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต. สืบค้นจากhttps://www.mots.go.th/news/category/706
กาญจนาวดี พวงชื่น และ แสงสรรค์ ภูมิสถาน. (2563). พฤติกรรมการท่องเที่ยวและความต้องการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุต่อการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 15(2), 29-42.
ณัฐพล นวะมะรัตน์ และ กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ. (2566). ความสัมพันธ์ของความพึงพอใจกับความจงรักภักดีในการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 7(1). 15-30.
ธัญญารัตน์ บุญเชิด, ณญาดา การถาง, ชมพูนุช บัวรอด, และ เอื้ออารี บุญเพิ่ม. (2565). ตัวแบบกำหนดการเป้าหมาย เชิงจำนวนเต็มสำหรับการวางแผนเส้นทางท่องเที่ยวภายใต้ปัจจัยของนักท่องเที่ยว. วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน, 10(1), 153-165.
วนัชพร จันทรักษา และ สรรวิทย์ เชื้อพิสุทธิ์กุล. (2561). โปรแกรมจัดเส้นทางขนส่งโดยวิธีแบบประหยัด กรณีศึกษา การขนส่งอาหารทะเลสดไปจุดจําหน่ายตามแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพฯและปริมณฑล. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติวิชาการรับใช้สังคม ครั้งที่ 2. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
อลงกรณ์ เมืองไหว, วชิระ วิจิตรพงษา, และ ธณิดา โขนงนุช. (2565). การพัฒนาแบบจำลองระบบโลจิสติกส์และการ ตัดสินใจเลือกรูปแบบการเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงเมืองมรดกโลกภาคเหนือตอนล่างประเทศไทยสู่เมืองหลวงพระบางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 17(1), 131-147.
เอกสารอ้างอิง (ภาษาอังกฤษ)
Cao, J., Olvera-Cravioto, M., & Shen., Z. (2020). Last-Mile Shared Delivery: A Discrete Sequential Packing Approach. Mathematics of Operations Research, 45(4), 1466-1497. doi: 10.1287/MOOR.2019.1039
Chupradit, S., Tashtoush, M. A., Al-Muttar, M. Y. O., Mahmudiono, T., Dwijendra, N. K. A., Chaudhary, P., ... & Alkhayyat, A. (2022). A multi-objective mathematical model for the population-based transportation network planning. Ind Eng Manag Syst, 21(2), 322-331.
Dutta, J., Barma, P. S., Mukherjee, A., Kar, S., De, T., Pamučar, D., ... & Garbinčius, G. (2022). Multi-objective green mixed vehicle routing problem under rough environment. Transport, 37(1), 51-63.
Gruzauskas, V., Burinskiene, A., & Krisciunas, A. (2023). Application of information-sharing for resilient and sustainable food delivery in last-mile logistics. Mathematics, 11(2), 303. https://doi.org/10.3390/math11020303
Hermawan, K., & Regan, A. C. (2018). Impacts on vehicle occupancy and airport curb congestion of transportation network companies at airports. Transportation Research Record, 2672(23), 52- 58.
Hermawati, P., Adisasmita, S., Ramli, M. I., & Hamid, S. (2019). Choices Models of Trip Chain and Transportation Mode for International Tourists in Tourism Destination Island. GEOMATE Journal, 16(55), 195-203.
Loose, W., Mohr, M., & Nobis., C. (2006). Assessment of the Future Development of Car Sharing in Germany and Related Opportunities. Transport Reviews, 26(3), 365-382. doi: 10.1080/01441640500495096
Lo, S. C. (2022). A Particle Swarm Optimization Approach to Solve the Vehicle Routing Problem with Cross-Docking and Carbon Emissions Reduction in Logistics Management. Logistics, 6(3), 62.
Lo, S. C., & Chuang, Y. L. (2023). Vehicle Routing Optimization with Cross-Docking Based on an Artificial Immune System in Logistics Management. Mathematics, 11(4), 811.
Purnamasari, C. D., & Santoso, A. (2018) Vehicle Routing Problem (VRP) for courier service: A review. In: International Mechanical and Industrial Engineering Conference (IMIEC 2018) (pp.30-31). Malang: Indonesia.
Rauch, D. E., & Schleicher, D. (2015). Like Uber, but for local government law: the future of local regulation of the sharing economy. Retrieved from https://www.law.gmu.edu/assets/files/publications/working_papers/1501.pdf
Syahputra, R. H., Komarudin, K., & Destyanto, A. R. (2018). Optimization of distribution route with vehicle routing problem with transshipment facilities (VRPTF). In 2018 3rd International Conference on Computational Intelligence and Applications (ICCIA). IEEE.
Thongma, W. (2017). Hotel Shuttle Service Fails to Get the Customer to the Airport on Time. International Journal of Business & Economics, 16(2), 241-247.
Wang, F., Zhu, Y., Wang, F., Liu, J., Ma, X., & Fan, X. (2020). Car4Pac: Last Mile Parcel Delivery Through Intelligent Car Trip Sharing. IEEE Transactions on Intelligent Transportation Systems, 21(10), 4410-4424. doi: 10.1109/TITS.2019.2944134
Xu, G., Wan, S., & Dong, J. (2020). An Entropy-Based Method for Probabilistic Linguistic Group Decision Making and its Application of Selecting Car Sharing Platforms. Informatica, 31(3), 621-658. doi: 10.15388/20-INFOR423
Zhou, B., Liu, T., Ryan, C., Wang, L., & Zhang, D. (2020). The satisfaction of tourists using bicycle sharing: a structural equation model - the case of Hangzhou, China. Journal of Sustainable Tourism, 28(7), 1063-1082. doi: 10.1080/09669582.2020.1720697
Zhao, R., Yang, L., Liang, X., Guo, Y., Lu, Y., Zhang, Y., & Ren, X. (2019). Last-mile travel mode choice: Data-mining hybrid with multiple attribute decision making. Sustainability, 11(23), 6733