ผลการจัดการเรียนรู้รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง ทัศนธาตุ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 Steps ผ่านแอพพลิเคชั่น Ibis Paint X

Main Article Content

นฤเบศร์ แก้วคำงาม
ศิริพงษ์ เพียศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง ทัศนธาตุ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 Steps ผ่านแอพพลิเคชั่น Ibis Paint X และศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง ทัศนธาตุ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 Steps ผ่านแอพพลิเคชั่น Ibis Paint X ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นแบบกลุ่มเดียว โดยวัดผลหลังการทดลองกับกลุ่มเป้าหมายที่ใช้การเลือกแบบเจาะจง ทั้งหมด 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ 1) แบบประเมินผลงานผลงานทัศนศิลป์ 2) แบบสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนกับการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบหลังการจัดการเรียนรู้


ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง ทัศนธาตุ ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 Steps ผ่านแอพพลิเคชั่น Ibis Paint X ส่งผลให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินผลงานทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 86.43 และมีนักเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินผลงานผ่านเกณฑ์ 100% รวมถึงผลการทดสอบหลังการจัดการเรียนรู้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 82.86 2) นักเรียนมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้จากรายการประเมินความพึงพอใจทั้งหมด 20 รายการ ในด้านการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนรู้แปลกใหม่น่าสนใจ มีคะแนนเฉลี่ยของการประเมินความพึงพอใจสูงที่สุดอยู่ที่ 4.86 ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ผลรวมทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์การประเมินระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=4.61, S.D.=0.55)

Article Details

How to Cite
แก้วคำงาม น., & เพียศิริ ศ. (2022). ผลการจัดการเรียนรู้รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง ทัศนธาตุ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 Steps ผ่านแอพพลิเคชั่น Ibis Paint X. Journal of Information and Learning [JIL], 32(3), 33–43. https://doi.org/10.14456/jil.2021.22
บท
บทความวิจัย

References

Dechakup, P. (2014). TLearning management in the 21st century. Chulalongkorn University. Bangkok: Chulalongkorn University.

Demonstration School of Khon Kaen University Nong Khai Campus. (2020). School curriculum in Demonstration School of Khon Kaen University, Nong Khai Campus. Nong Khai: Khon Kaen University, Nong Khai Campus.

Kantiya, P. (2016). The development of analytical thinking skills for science through five steps learning management of secondary school. Graduate School Chiang Mai Rajabhat University: Journal of Graduate Research, 7(2), 137-152.

Luminita, M.H., Gabriel, G., & Laura, M.G. (2014). The role of new technologies for enhancing teaching and learning in arts education. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 122, 245-249.

Ministry of Education. (2008a). The basic education core curriculum 2008. Bangkok: The Agricultural co-operative Federation of Thailand.

Ministry of Education. (2008b). Basic education core curriculum learning area of arts 2008. Bangkok: The Agricultural co-operative Federation of Thailand.

Noppakit, S. (2018). Organizing activities to develop students' life skills in the 21st century. Journal of Research and Curriculum Development, 8(1), 53-66.

Naktamna, Y. (2020). Creative music club activity on the concept of gpas 5 steps to develop creative thinking skills for students in secondary school. Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science), 10(3), 1-18.

Sukkasem, T. (2019). The effects of 5 steps learning process (5 steps) and analytical questions in evolution on scientific analytical thinking and achievement of tenth grade students. CMU Journal of Education, 3(2). 24-36.