รูปแบบของการจัดองค์กรแห่งนวัตกรรมสำหรับการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมยุคดิจิทัล ที่มีประสิทธิภาพภายใต้สถานการณ์วิถีปกติใหม่ในประเทศไทย

Main Article Content

อาคีรา ราชเวียง
พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ
ศิกาญจน์มณี ไซเออร์ส
สมใจ ศรีเนตร
วีรวัฒน์ เพ็งช่วย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อการศึกษารูปแบบของการจัดองค์กรแห่งนวัตกรรมสำหรับการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมยุคดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพภายใต้สถานการณ์วิถีปกติใหม่ในประเทศไทย การวิจัยใช้ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีผลประกอบการที่เป็นเลิศในประเทศไทย 50 แห่ง จำนวน 50 คน จากการเลือกผู้บริหารแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างแบบเปิดและการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสารัตถภาพและสัมพันธภาพ วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการศึกษาเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ขั้นการเก็บข้อมูลและกำหนดองค์ประกอบ 3) ขั้นการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบ และ 4) ขั้นการตรวจสอบและยืนยันรูปแบบที่เหมาะสมโดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของการจัดองค์กรแห่งนวัตกรรมสำหรับการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมยุคดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพภายใต้สถานการณ์วิถีปกติใหม่ในประเทศไทยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 11 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม 2) การกำหนดโครงสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมที่เหมาะสม 3) การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนการก่อเกิดนวัตกรรมทุกมิติ 4) รูปแบบ กระบวนการ และการปฏิบัติที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม 5) การกำหนดโครงสร้างทางฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เหมาะสมสำหรับการบริการ 6) ทีมผู้นำเชิงนวัตกรรมที่มุ่งมั่นไปสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ 7) ทีมงานมีนิสัยแห่งนวัตกรรมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีคุณภาพ 8) การสร้างบรรยากาศและระบบนิเวศนวัตกรรมที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว 9) นวัตกรรมการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ 10) การส่งเสริมบุคลากรในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างอิสระ และ 11) การสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้เชิงดิจิทัลทั่วทั้งองค์กร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2555). การเปรียบเทียบ : เครื่องมือสำหรับการพัฒนาองค์กรให้เป็นยุคใหม่. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 4(1), 55-70.

_______และ ดรุณี ปัญจรัตนากร. (2563). องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2. 1-2 กุมภาพันธ์ 2563. นครราชสีมา: สสอท.

_______, สำเริง อ่อนสัมพันธุ์, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, ดรุณี ปัญจรัตนากร, ฤทธิเดช พรหมดี และ เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ. (2564). องค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ พะเยาวิจัย ครั้งที่ 10. 28-29 มกราคม 2564. หน้า 3513-3528. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

Alves, M.F.R., Galina, S.V.R. and Dobelin, S. (2018). Literature on Organizational Innovation: Past and Future. Innovation and Management Review. 15(1), 2-19.

Brunetti, F., Matt, D.T., Bonfanti, A., De Longhi, A., Pedrini, G. and Orzes, G. (2020). Digital Transformation Challenges: Strategies Emerging from a Multi-Stakeholder Approach. The TQM Journal. 32(4), 697-724.

Edwards-Schachter, M. (2018). The Nature and Variety of Innovation. International Journal of Innovation Studies, 2(2), 65-79.

Granstrand, O. and Holgersson, M., (2020). Innovation Ecosystems: A Conceptual Review and a New Definition. Technovation, 90–91(1), 1-12.

Jermsittiparsert, K. , Somjai, S. and Chienwattanasook, K. (2020), "Era of Industry 4.0 Technologies and Environmental Performance of Thailand's Garment Industry: Role of Lean Manufacturing and Green Supply Chain Management Practices", Akkaya, B. (Ed.) Agile Business Leadership Methods for Industry 4.0 , Emerald Publishing Limited, Bingley, pp. 285-302.

Konst (e. Penttilä), T. and Kairisto-Mertanen, L. (2020). Developing Innovation Pedagogy Approach. On the Horizon, 28(1), 45-54.

Li, G. (2021). The Impact of Supply Chain Relationship Quality on Knowledge Sharing and Innovation Performance: Evidence from Chinese Manufacturing Industry. Journal of Business & Industrial Marketing, 36(5), 834-848.

Reetu, Yadav, A. and Redhu, K. (2020). Organizational Climate and Organizational Effectiveness Relationship: Mediating Role of Job Satisfaction. International Journal of Advanced Science and Technology, 29(4s), 2970-2982.

Rehman, U.U. and Iqbal, A. (2020). Nexus of Knowledge-Oriented Leadership, Knowledge Management, Innovation and Organizational Performance in Higher Education. Business Process Management Journal, 26(6), 1731-1758.

Serdyukov, P. (2017). Innovation in education: what works, what doesn’t, and what to do about it? Journal of Research in Innovative Teaching & Learning, 10(1), 4-33.

Sriram, R.M. and Vinodh, S. (2021). Analysis of Readiness Factors for Industry 4.0 Implementation in SMEs Using COPRAS. International Journal of Quality & Reliability Management, 38(5), 1178-1192.

Striteska, M.K. and Prokop, V. (2020). Dynamic Innovation Strategy Model in Practice of Innovation Leaders and Followers in CEE Countries—A Prerequisite for Building Innovative Ecosystems. Sustainability, 12(39), 1-12.

Teece, D., Schoemaker, J.H. and Heaton, S. (2018). Innovation, Dynamic Capabilities, and Leadership. California: California Management Review.

Turner, J.R., Baker, R., Schroeder, J., Johnson, K.R. and Chung, C.-h. (2018). Leadership Development Techniques: Mapping Leadership Development Techniques with Leadership Capacities Using a Typology of Development. European Journal of Training and Development, 42(9), 538-557.

World Bank. (2019). World Development Report: Learning to Realize Education’s Promise. Washington DC: World Bank.